โครงงาน น้ำพริกภาคเหนือ

โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

 

จัดทำโดย

นางสาวสาริณี  พึ่งพรม เลขที่  11

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์  (ง30205)
ภาคเรียนที่ 2        ปีการศึกษา 2558
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)

โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม  ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
33

 

หัวข้อโครงงาน                  :  เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ
ประเภทของโครงงาน        :  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้เสนอโครงงาน                  :  นางสาวสาริณี พึ่งพรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1   เลขที่  11
ครูที่ปรึกษาโครงงาน         :  ครูไพรัตน์  ทองเถาว์  ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ
ปีการศึกษา                           :  2558

บทคัดย่อ

             โครงงานประเภทพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอารูปแบบสื่อการเรียนยุคใหม่ที่ใช้สื่อสังคมหรือ Social  Media ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบันมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้โดยได้ศึกษารูปแบบและพัฒนาการเรียนรู้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเว็บไซต์สำเร็จรูปชื่อว่า WordPress ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องน้ำพริกภาคเหนือ โดยผู้จัดทำโครงงานสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก WordPress ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น และได้นำเสนอผลงานผ่านเว็บบล็อกที่ https:// sarinee235.wordpress.com ทั้งนี้ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่สนใจ คุณครู เพื่อนๆ และผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี

กิตติกรรมประกาศ

 

โครงงานคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ สำเร็จขึ้นได้ด้วยความกรุณาของผู้บริหารและคณะครูหมวดคอมพิวเตอร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม  ซึ่งได้ให้คำปรึกษา  ข้อชี้แนะ  และความช่วยเหลือจนกระทั่งโครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง   ณ  ที่นี้

ขอขอบพระคุณคณะครูโรงเรียนบุแกรงวิทยาคมทุกท่านที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ  ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนช่วยแนะนำการจัดทำโครงงานเรื่อง น้ำพริกภาคเหนือขอบคุณกำลังใจดีๆ จากบิดามารดาและผู้ปกครองทุกๆท่าน  ตลอดจนเพื่อนๆทุกคน  ความดีอันเกิดจากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ผู้จัดทำโครงงานขอมอบแด่บิดา มารดา ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยผลักดันและเป็นกำลังใจ ซึ่งผู้จัดทำซาบซึ้งในความกรุณาอันยิ่งใหญ่จากท่าน และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

สาริณี  พึ่งพรม

 

สารบัญ

 

เรื่อง                                                                                                                                                       หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                                                  ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                     ข

สารบัญ                                                                                                                                                     ค

 

บทที่ 1  บทนำ

1.1  แนวคิด ที่มา และความสำคัญ                                                                                           1
1.2  วัตถุประสงค์                                                                                                                     1                                 1.3  ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                      1                                  1.4  ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                        2

บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1  ความสำคัญของการจัดทำโครงงานเรื่องน้ำพริกภาคเหนือ                                                  3

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี                                                                                         5

2.3  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโครงงาน                                                                       11

2.4  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                18

2.5  โครงงานที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                22

 

บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน
3.1  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา                                              44

3.2  ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                                                       44

 

บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงงาน

4.1  ผลการพัฒนา                                                                                                                  45

4.2  ตัวอย่างการนำเสนอ                                                                                                       45

 

บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

5.1  การดำเนินงานจัดทำโครงงาน                                                                                                           53

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

5.3 ข้อเสนอเเนะ                                                                                                                                       53

บรรณานุกรม                                                                                                                                               55

ภาคผนวก                                                                                                                                                   56

ข้อมูลผู้จัดทำ                                                                                                                                              64

 

บทที่ 1

บทนำ

 

1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่านจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำอีกทั้งยังมีชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิดซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

ประเพณีการรับประทานอาหารของภาคเหนือ ซึ่งคนไทยในภาคเหนือส่วนใหญ่ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ด้วยการจัดอาหารใส่ถ้วยเล็กๆ วางลงไปบนโตก ลักษณะโตกอาจทำด้วยไม้ มุก หรือทองเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของเจ้าของบ้าน เรียกว่า สำรับอาหารคาว ข้างโตกยังมีข้าวเหนียว ใส่ในกระติบทรงสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาค เหนือ นอกโตกยังมีคนโทดินใส่น้ำเย็น มีขันเงิน สำหรับใส่น้ำดื่ม หลังอาหารคาว จะมีโตกอาหารว่างตามมา

โดยทั่วไปหลายคนรู้จักและเคยทานแล้วแต่ละหลายคนไม่เคยรู้จักและไม่เคยทาน เราเลยจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อ  เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ น้ำพริกภาคเหนือ  ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นวัตถุดิบที่หาง่าย  สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดโดยทั่วไปเนื่องจากหนึ่งในสมาชิกกลุ่มของข้าพเจ้าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด จึงอยากนำเสนออาหารพื้นเมืองของชาวล้านนาภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากอาหารพื้นเมืองทั่วไป     จึงนำเสนอเมนูน้ำพริกประจำภาคเหนือ เมนูนี้เป็นเมนูที่ข้าพเจ้าอยากจะเผยแพร่เมนูอาหาร และขั้นตอนวิธีการปรุงอาหาร คือ น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำจิ๊นหมู ล้านนาของชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย   ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการทำน้ำพริก

โครงงานเรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้ วัฒนธรรมล้านนา  และวิธีการทำที่ถูกวิธี ตามแบบฉบับของชาวล้านนาดั้งเดิม

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

  1.              เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ
  2.        เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารของชาวล้านนา
  3.             เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำน้ำพริกน้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกจิ๊นหมู

1.3 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

สร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก  โดยใช้โปรแกรม DeskTop  Author  ในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  และโปรแกรม Power Point  ในการทำสไลด์ของเรื่องนี้

1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1.      ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ

2.ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์

  1. ได้เผยแพร่สูตรน้ำพริกภาคเหนือ
  2. ได้นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน

 

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

2.1  ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องน้ำพริกภาคเหนือ

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

2.3  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโครงงาน

2.4  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.5  โครงงานที่เกี่ยวข้อง

2.1  ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ

คนไทยรู้จักปลูกพริก และมีวิธีบริโภคพริกหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะสด แห้ง ดอง เผา และแกง และมักแบ่งพริกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เผ็ดมาก ซึ่งได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง กับกลุ่มที่เผ็ดน้อย ซึ่งได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกฝรั่ง

ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับพริกดีเสียจนทำให้คิดไปว่า พริกเป็นพืชพื้นเมือง แต่นักประวัติพฤกษศาสตร์ได้พบว่า ถิ่นกำเนิดของพริกคือ ทวีปอเมริกากลาง และใต้ และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรปแล้วจากยุโรปพริกก็ถูกนำไปปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก   หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียนใน Mexico รู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมือง Huaca Prieta มีซากเมล็ดพริกที่มีอายุประมาณ 9,000 ปี การศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่า Olmec, Toltec และAztec ต่างก็แสดงให้รู้ว่า ชาวอินเดียนเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของเปรูด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนอินเดียที่อาศัยอยู่ในเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริก

ในปี 2036 นักประวัติศาสตร์ชื่อ Peter Martyr ได้รายงานว่า พริกแดงที่ Columbus นำมาจากอเมริกามีรสเผ็ด และแพทย์ที่ติดตามColumbus ไปอเมริกาเป็นครั้งที่สองในปี 2037 ก็ได้กล่าวถึงชาวอินเดียนว่า นิยมปรุงอาหารด้วยพริก และเมื่อกองทัพสเปนบุกอาณาจักร Aztec นายพล Cortez ได้เขียนจดหมายเล่าว่า กษัตริย์ Aztec ทรงโปรดเสวยพระสุคนธรสที่มีพริกป่น

คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ด และการมีคุณสมบัติที่ดุเดือดรุนแรงนี้เองที่ทำให้ชาวอินเดียนนิยมใช้พริกทรมานเชลยหรือศัตรู เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาว Maya ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิง Maya คนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิง Maya คนใดถ้ารู้ว่า บุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี “บริเวณลับ” ของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก สำหรับชาวอินเดียนเผ่า Carib ใน Antilles นั้น ก็นิยมใช้พริกทาบาดแผลของเด็กผู้ชายเพื่อฝึกให้อดทน และเวลาจับเชลยได้ ชาวอินเดียนเผ่านี้ก็จะใช้ไฟจี้ตามตัวจนเป็นแผลพุพองแล้วเอาพริกทา และเมื่อเชลยเสียชีวิตลงเนื้อของเชลยก็จะถูกแล่เอาไปปรุงด้วยพริกเป็นอาหาร เป็นต้น

นักประวัติศาสตร์ชื่อ Francisco Hernandez ซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์ Philip ที่ 2 แห่งสเปน และได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา) ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวอินเดียนนิยมปลูกพริกมาก ส่วน P. Bernabe Cobo ผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่า ชาวอินเดียนในเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historia ว่า ชาวอินเดียนถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสด และใช้พริกในพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหาร คนอินเดียนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย Cobo ยังกล่าวเสริมว่า ไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหาร แม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย และสำหรับ Garcilaso de la Vega ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้น ก็ได้เล่าว่า ชาวอินคาถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินคาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อย นอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่า ใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย Alexander von Humboldt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปี และได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่า เกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใด คนอินเดียนก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น

การศึกษาประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก ทำให้เรารู้ว่า Alvarez Chanca ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี 2036 และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากคำ Chile อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้ และอีก 55 ปีต่อมา ชาวอังกฤษก็เริ่มรู้จักพริก เมื่อถึงปี 2098 บรรดาประเทศต่างๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักปลูกพริกกันแล้ว และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดีย และเอเชียอาคเนย์

นักชีววิทยาจัดพริกอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ และให้พริกอยู่ในสกุล Capsicum ซึ่งมาจากคำว่า Kapto ที่แปลว่า กัดกร่อน แต่นักภาษาศาสตร์บางคนคิดว่า รากศัพท์ที่แท้จริงของคำคำนี้คือ capsa ซึ่งแปลว่า กล่อง ถึงความคิดเห็นเรื่องที่มาของชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยอมรับในประเด็นเดียวกันว่า พริกมีรสเผ็ด แม้แต่ชาว Maya ก็เรียกพริกว่าHuuyub ซึ่งแปลว่า สูดปาก หลังจากที่ได้กินพริกเข้าไป การศึกษาคุณสมบัติด้านเภสัชวิทยาของพริก ทำให้เรารู้ว่าแพทย์ในอดีตเคยใช้พริกเป็นยารักษานานาโรค เช่น โรคบวม เสียดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อหิวาต์ อาหารไม่ย่อย ปวดหัว ปวดประสาท ปวดตามข้อ ท้องร่วง กระเพาะอักเสบ แก้เมาคลื่น โรคหวัด ลดน้ำมูก ป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการไขมันอุดตันของเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ทำให้มีอารมณ์ดี และใช้เป็นยาไล่แมลงก็ยังได้ด้วย

ส่วนนักโภชนาการได้พบว่า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู และพริกหวานต่างก็มีวิตามิน C เช่น ในเนื้อพริก 100 กรัม จะมีวิตามิน C ตั้งแต่ 87-90มิลลิกรัม และมี betacarotene (หรือวิตามิน A) ซึ่งช่วยให้สายตาดีด้วย

นักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร capsicin ที่แฝงอยู่ในบริเวณแรก

(placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่ามันมีชื่อ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร C18 H23 NO3 มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46 มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี นอกจากนี้มันยังมีสมบัติทนความร้อน ความเย็นได้ดีด้วย ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงหรือมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าต้องการจะแก้รสเผ็ด ผู้สันทัดกรณีแนะนำว่า น้ำหรือเบียร์ก็พอช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้ดีให้กินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มี ethonol มาก ก็จะช่วยได้ดีขึ้น และถ้าพริกมีรสขม นั่นก็เพราะคนกินได้เคี้ยวเมล็ดพริก

                                                            

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์       

ความหมายของสื่อการสอน

             สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น  วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ  ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ  วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน  คำพูดท่าทาง  วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร  กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
ความหมาย ความสำคัญของสื่อการสอน และประเภทของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ

  1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
  2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
  3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการและสถานการณ์จำลอง
  4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้         WWW (World Wide Web)

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์

  1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
  2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
  3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
  4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
  5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
    6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
  6. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
  7. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
    9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น

10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ

Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้

  1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
  2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
  3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
  4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
  5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ (Form)

Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้

  1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ

2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ

  1. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
  2. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้

  1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
  2. วัสดุ (Software)
  3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)

คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

  1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ

1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง

1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน

1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น

1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด

 

  1. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่

2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น

2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง

2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น

2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง

2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้

2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้

2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน

2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา

2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน

1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน

2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้

3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม

4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน

5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ

7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ

8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
                1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
                2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
                3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
                4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
                5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

  1. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)
    เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย
  2. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

2.3  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโครงงาน     

ความสำคัญของ E-Book

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถเลือกเรียนได้ ตามความสนใจ ความถนัดและความเหมาะสมตามสภาพของตนเอง เพื่อให้บุคคลสามารถพัฒนา ศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและมีความพร้อมในการดำรงอยู่ในสังคมไทยซึ่งเป็น สังคมฐานความรู้ที่การเรียนรู้ ความรู้และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเสริมสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศเพื่อความสามารถในการปรับตัว รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง โดยส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคใน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการ ดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน โดยอาศัยข้อมูลข่าวสาร ที่มีอยู่ กระบวนที่ทำให้เกิดสารสนเทศนี้เรียกว่า การประมวลผลสารสนเทศ (Information Technology) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ นี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ  2  คำ นั่นคือ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอา ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่าน การประมวลผลแล้วการประมวลผลที่ว่านี้ เช่น การวิเคราะห์ การจัดลำดับ การเรียงข้อมูล เป็นต้น ซึ่งระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรทั้งด้านการจัดการและ อื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อความ ต้องการและสภาพปัจจุบันของสังคมและกลุ่มเป้าหมาย และจากความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เราจำเป็นต้องเรียนรู้และก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้น และสามารถนำเทคโนโลยีนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะทางการศึกษามี ความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังปรากฏในกรอบ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ(IT 2010) ที่ได้กำหนดให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน ส่วนของการศึกษา (e-education) เป็นหนึ่งในห้าองค์ประกอบหลักที่จะสนับสนุนการปฏิรูป การศึกษาและการเรียนรู้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาไว้อย่างชัดเจนในหมวด 9 ว่า

“เทคโนโลยีจะยิ่งเพิ่มบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นต่อการศึกษาสู่อนาคต จึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่นักการศึกษาจะต้องทำการศึกษาในเรื่องนี้เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาและสังคม การนำสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้และทักษะในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและ รวดเร็ว ช่วย ย่นระยะทางให้ใกล้ขึ้นจนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกหนทุกแห่ง ช่วยเชื่อม ประสานและ สื่อสารระหว่างกันได้ง่าย เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน และเรียนรู้ได้ตลอดเวลาในด้านการศึกษา มีการสร้างสื่อต่างๆ เก็บรวบรวมไว้ในรูปดิจิตอลก่อให้เกิดการทดแทนสื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างห้องสมุดดิจิตอล นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโมเดล การเรียนการสอนแบบใหม่ได้มากมาย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาช่วยเปลี่ยนแปลง รูปแบบการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดการความรู้ เพื่อน าองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ และสามารถสร้างรูปแบบการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นรูปแบบการให้การศึกษาแก่ประชาชนตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษารูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ตาม ความต้องการและสภาพของตนเอง e-Book มีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงไปยังส่วน ต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนี้ยัง สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออก ทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่ง คุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป จึงอาจนับได้ว่า e-Book เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง ตามความต้องการและสภาพของตนเอง ตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทย

ความหมายของ E-Book

ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book มีผู้ให้ความหมายไว้ หลากหลาย ดังนี้

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (website http://203.146.15.11) ให้ความหมายว่า “e-Book หมายถึง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ ซึ่งมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการน าเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไป ในชีวิตประจำวัน แต่มีลักษณะพิเศษคือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านสามารถ อ่านพร้อม ๆ กัน ได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งคืนห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุด ทั่ว ๆ ไป” คู่มือการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรม Flip Album 6 Pro หน้า 10

Tech Encyclopedia (1999 : 1) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใน ฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ ว่าเป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋าที่สามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทำสำเนาได้ทำบุ๊คมาร์คและทำหมายเหตุประกอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Electronic Book- Webopedia Definition (1999 : 1) ว่า เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับกระเป๋า พกพา สะดวกด้วยน้ำหนักเพียงเล็กน้อย เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษ การเปิดพลิกหน้า พ๊อกเก๊ตบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิดหนังสือจริง สามารถทำแถบสว่าง (Highlight) ท าหมายเหตุประกอบ ค้นหาคำและสร้างบุ๊คมาร์คได้

E-Book (http://th.wikipedia.org) คือหนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรม ส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บใน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค PDA(Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือแม้กระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ

อาจกล่าวได้ว่า e-Book หมายถึง หนังสือหรือเอกสารที่จัดทำขึ้นด้วยระบบ คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ สามารถอ่านได้ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์

โปรแกรม DeskTop Author

ความสามารถของ DeskTop Author

DeskTopAuthor  เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่องานสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ eBook โดยตรง ซึ่งมีความสามารถในการสร้าง eBook ได้ง่าย แต่ก็เพียบพร้อมด้วยพีเจอร์ต่างๆ มากมากโดย eBook ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรม DeskTopAuthor นั้นสามารถใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปได้ เช่น  ข้อความ รูปภาพ  เสียง ไฟล์ Flash Movice  และลิงก์ต่างๆ รวมทั้งขนาดของ eBook ที่ได้นั้นก็มีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ง่ายต่อการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์และมีความสามารถในการสร้างเอกสาร eBook ดั้งนี้

  1. ในส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ของโปรแกรมได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกซึ่งคุณสามารถเรียนการทำงานของโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการใช้งานจริงได้ทันที
  2. สารมารถทำการแก้ไของค์ประกอบของหน้าแต่ละหน้าได้ ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงได้เลยทันที
  3. สามารถพิมพ์ลงไปในแพ็คเกจของ eBook ได้เลย โดยใช้คุณสามบัติของ Edittable Text
  4. สามารถสร้างลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ทั้งภายใน eBook เดียวกัน ทั้งเว็บไซต์ อีเมล์ และไฟล์อื่นๆ ได้
  5. สร้างฟอร์มในการทำแบบทดสอบด้วย EAZY FORMS Editor ของโปรแกรม เช่น การตั้งคำถามต่างๆ การทดสอบ การสำรวจ และอื่นๆ
  6. สร้าง eBook จากการใช้ต้นแบบและปุ่มต่างๆ ซึ่งมีมาให้พร้อมกับโปรแกรม
  7. จัดทำ eBook ไปยังเว็บไซต์ และสามารถเปิดได้ไม่ต้องมีโปรแกรมบราวเซอร์
  8. สามารถอัพโหลด eBook ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้โปรแกรม Built-in FTP ในการอัพโหลด
  9. สามารถแปลงแพ็คเกจเป็นไฟล์ต่างๆ ได้ คือ EXE , DNL , DRM และ SCR
  10. สามารถป้องกันข้อมูลรายละเอียดต่างๆ โดยการใช้ Password และความสามารถในการสั่งพิมพ์ อิเมล์ และบันทึกฟังก์ชัน
  11. สามารถสร้างเป็นอัลบั้มรูปภาพ โดยใช้ฟิลด์ของข้อความและรูปภาพ

 

โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007

Microsoft Office PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมประยุกต์ประเภทกราฟิกและนำเสนอของบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งเป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดโปรแกรม Microsoft Office 2007 ที่มีความสามารถด้านการนำเสนอสื่อชนิดต่าง  เช่น  ข้อความ  ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  และวีดิโอ  ในรูปแบบของสไลด์หรือภาพนิ่งที่สามารถกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวให้กับวัสดุต่างๆได้เพื่อการนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ

กฎในการออกแบบหน้าสไลด์

ในการสร้างสไลด์ในแต่ละหน้านั้น ผู้ใช้ควรมีกฎที่เป็นแนวทางในการสร้างงานนำเสนอก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยสรุปได้ดังนี้

  1. ในแต่ละสไลด์ควรมีหัวเรื่องเพื่อบอกถึงสิ่งที่จะอธิบาย
  2. ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน
  3. ควรใช้คำสั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตาม
  4. หัวข้อของเนื้อหาไม่ควรเกิน 8 บรรทัดในหนึ่งสไลด์เพราะถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลทำให้สื่อได้ไม่ชัดเจน
  5. ไม่ควรนำภาพมาเป็นพื้นหลัง (Background) เพื่อจะทา ให้อ่านยาก
  6. การใส่รูปภาพลงในสไลด์ควรใช้ขนาดพอสมควรไม่ใหญ่เกินไป

การสร้าง Presentation ใหม่ จาก Template

สำหรับการเริ่มสร้างงานพรีเซนต์ใหม่จาก PowerPoint 2007 จะช่วยให้คุณสามารถสร้างงาน ได้อย่างรวดเร็วขึ้นจาก Template1 หรือแม่แบบสไลด์สำเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มออกแบบงานใหม่ทุกครั้ง และยังสามารถดาวน์โหลดแม่แบบเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.com ได้อีกด้วย

วิธีการสร้างงานใหม่

เมื่อคลิกสัญลักษณ์ เลือก New เลือก Installed Themes ที่ชอบแล้วคลิกปุ่ม Create

การเปิดโปรแกรม PowerPoint 2007

  1. คลิก Start Menu
  2. คลิกเลือก Programs
  3. คลิก Microsoft Office
  4. คลิกเลือก Microsoft PowerPoint2007
  5. ปรากฏหน้าจอโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007

การสไลด์แผ่นใหม่

การสร้างสไลด์ใหม่ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 จะสร้างสไลด์ที่ไม่มีข้อความ หรือรูปภาพใดๆ อยู่ในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกปุ่ม (Office)
  2. คลิกเลือกงานนา เสนอเปล่า

พิมพ์ข้อความลงในสไลด์

เมื่อเปิดหน้าสไลด์แล้วจะพบว่า มีพื้นที่สีขาวสำหรับพิมพ์ข้อความลงไป โดยการเริ่มต้นพิมพ์ข้อความลงใน สไลด์มีขั้นตอนดังนี้

1.คลิกให้ปรากฏเส้นเคอร์เซอร์ตรงบริเวณกรอบที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร

2.พิมพ์ข้อความตามต้องการ เมื่อพิมพ์ข้อความจนสุดบรรทัด โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่ ให้โดยอัตโนมัติ (หากต้องการลบข้อความหรือคำผิดก็ให้แดรกเมาส์ เลือกข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ที่คีย์บอร์ด)

การจัดข้อความให้สวย

1.คลิกข้อความที่จะจัด

  1. คลิกรูปแบบ
  2. คลิกเลือกเครื่องมือที่ Ribbon โดยจัดตามต้องการ

เทคนิคการทำ Presentation

การเลือกใช้ข้อความที่มีขนาดเหมาะสม ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการสื่อให้ผู้ที่มารับข้อมูลเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้

  1. ตัวอักษรต้องอ่านง่าย โดยปกติตัวอักษรควรมีขนาดตั้งแต่ 36-60 Point และควรเป็นตัวหนา เพื่อจะสื่อได้ชัดเจนมากขึ้น
  2. ในหนึ่งสไลด์ไม่ควรใช้แบบตัวอักษรเกิน 2 ประเภท เพื่อความสวยงาม

การเลือกสีในการออกแบบ สีนับว่าเป็นความสำคัญของการออกแบบหน้าจอ เนื่องจากผู้ใช้ต้องใช้ สายตาดูจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานถ้าใช้สีร้อนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองได้

การออกแบบตัวหนังสือ

Microsoft PowerPoint 2007 ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณเป็นมืออาชีพได้ง่ายๆ ด้วยการออกแบบสำเร็จรูปที่พร้อมให้เลือกอย่างจุใจ เช่น การออกแบบพื้นหลังสไลด์ด้วย Themes Design การปรับแต่งข้อความศิลป์ด้วย WordArt Style รวมทั้งการเลือกสีสันตามใจชอบด้วย Themes Color

  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยน
  2. คลิกปุ่ม Insert เลือก

วิธีการใส่ Effect ให้กับตัวอักษร

  1. คลิกเลือกคลุมข้อความที่เป็นตัวอักษร
  2. คลิกเมนูแท็ป Format ด้านบน
  3. คลิกเลือกปรับแต่งข้อมูลในหัวข้อ WordArt Styles

ทิป แท็ป Format  จะแสดงต่อเมื่อเรามีการคลิกเลือกข้อความที่สามารถปรับแต่งรูปแบบได้เท่านั้น

สำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่งพื้นหลังของตัวอักษรให้มีความโดดเด่น หรือสร้างเป็นปุ่มข้อความ โดยใช้ Themes Color เป็นตัวกำหนด

  1. เลือกกรอบข้อความ
  2. คลิกแท็บ Format

การเลือกพื้นหลังสไลด์

สำหรับบางท่านที่ต้องการความโดดเด่นพื้นหลังของงานพรีเซนต์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลกับการออกแบบและผู้รับข้อมูลโดยตรง เพราะถ้าพื้นหลังไม่ดีจะทำให้ดูแล้วไม่สบายตา สามารถเลือกพื้นหลัง Themes Design ได้เองอย่างง่ายดังนี้

  1. เลือกกรอบข้อความ
  2. คลิกแท็บ Design

การแทรกรูปภาพเข้ามาใหม่

  1. คลิกแท็กแทรก (Insert)
  2. คลิกปุ่มเพื่อเลือกรูปภาพที่จะนำมาใส่ในสไลด์
  3. จะปรากฏหน้าต่างแทรกรูปภาพขึ้นมา ให้เลือกโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพ
  4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
  5. คลิกปุ่มแทรก (Insert) เพื่อแทรกรูปในสไลด์

การปรับแต่งกราฟิกให้สวยงาม

สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการออกแบบศิลปะ Microsoft PowerPoint ก็ได้ออกแบบโปรแกรมให้มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับแต่งภาพขึ้นมาด้วย ในชื่อเครื่องมือ Picture Styles ซึ่งเพียงเราเลือกรูปแบบที่ต้องการ ภาพก็จะถูกปรับแต่งออกมาสวยงามน่ามอง

การเลือกใช้ภาพประกอบ เป็นการเสริมให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดความสับสนกับข้อมูลที่นำเสนอได้ดังนั้นจึงมีวิธีการในการเลือกใช้ภาพให้เหมาะสม ดังนี้

  1. ภาพที่นำมาใช้ต้องส่งเสริมข้อความที่นำเสนอ
  2. ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
  3. ภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้โปรแกรมทำงานหนักขึ้น

การกำหนด Effect การเปลี่ยนสไลด์

การสร้างสร้างสไลด์จะมีลักษณะเหมือนการเปลี่ยนหน้าหนังสือ ซึ่งดูแล้วไม่น่าสนใจ ซึ่งเราควรที่จะเพิ่มลูกเล่น (Effects) เข้าไป

  1. คลิกหน้าสไลด์ที่จะใส่ Effect
  2. คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว (Animation)
  3. คลิกเลือกรูปแบบ Effects ที่ต้องการ (ซึ่งจะมีตัวอย่างของเอฟเฟ็กต์แสดงขึ้นมาให้ดูด้วยระหว่างที่เลือก)
  4. จะแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงให้เห็น

สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบตามใจ ใน PowerPoint 2007

ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ PowerPoint ทุกๆ เวอร์ชั่น ก็คือการสร้าง Animation หรือทำให้ ภาพของเราที่แสดงบน PowerPoint สามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะอยู่ในหัวข้อ “Custom Animation” ถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ต่ำกว่า PowerPoint 2007 ส่วนใหญ่เราสามารถเรียกใช้คำสั่งนี้ได้ดังนี้ คือ คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการทำ Animation จากนั้นคลิก Custom Animation แต่สำหรับ PowerPoint 2007 จะ ต่างกันมากเนื่องจาก Microsoft มีการเปลี่ยนโฉมหน้าทั้งหมด คำสั่งต่างๆ จึงต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง ว่าเก็บ อยู่ในหัวข้อไหน

อย่างไรก็ตามวันนี้จะแนะนำการสร้างภาพ เคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่เราต้องการ (เราเรียกว่า Motion Paths) เช่น ภาพจะเลื่อนจากจุด A ไปยังจุด B เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้จักหรือไม่ค่อยเข้าใจกัน

วิธีการสร้าง Animation ใน PowerPoint 2007

  1. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
  2. คลิกแท็ป Animations
  3. คลิก Custom Animation ด้านล่างของแท็ป Animations
  4. จะเห็นหน้าต่างคา สั่ง Custom Animation ด้านขวามือ
  5. คลิก Add Effect เลือก Motion Paths
  6. คลิกเลือก Draw Custom Paths
  7. เลือกหัวข้อScribble ลูกศรหรือเคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปดินสอ
  8. ให้เขียนเส้นลากไปตามทางที่ต้องการ (ให้จิตนาการว่า จะให้ภาพวิ่งไปในแนวทางใด)
  9. จากนั้นปล่อยเมาส์ที่คลิกค้างไว้
  10. โปรแกรมจะแสดงภาพเคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่เราวาด คงไม่ยากเกินไปนะคะ ทดสอบกับดูเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงอีกครั้ง

การออกแบบไดอะแกรม

สำหรับงานที่จำเป็นต้องสร้างไดอะแกรมหรือผังองค์กรแล้ว Smart Art จะช่วยให้เราทำงานได้ อย่างไม่ยากเย็น ทั้งยังช่วยให้มีความสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เพราะภายในชุดตัวเลือกนี้จะมีรูปแบบของ ไดอะแกรมให้เลือกมากมายรองรับกับงานทุกประเภท

การนำเสนอสไลด์

หลังจากที่ได้สร้างสไลด์กันไปแล้ว ก่อนจะจบขั้นตอนผู้สร้างควรทดลองดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง ก่อนการนำเสนอจริง

  1. คลิกแท็บ View เพื่อนา เสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
  2. คลิกปุ่ม Slideshow ให้ทำการพรีเซนต์ตั้งแต่ตนเพื่อเริ่มแสดงการฉายสไลด์ตั้งแต่สไลด์แรก
  3. สไลด์จะปรากฏเต็มจอคอมพิวเตอร์
  4. กดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะเปลี่ยนหน้าสไลด์ทีละหน้า
  5. เมื่อสิ้นสุดจะปรากฏหน้าจบการนา เสนอภาพนิ่ง
  6. กดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดอีกครั้ง ก็จะกลับเข้าสู่หน้าโปรแกรมหลัก (หากในระหว่างการพ รีเซนต์ต้องการออกสู่หน้าโปรแกรมหลักทันที่ให้กดปุ่ม <Esc> บนคีย์บอร์ด)

การบันทึกไฟล์ PowerPoint

จากขั้นตอนสร้างงาน Presentation พร้อมทั้งทดลองตรวจสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือ การบันทึกไฟล์ PowerPoint ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งการบันทึกไฟล์ PowerPoint  มีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกปุ่ม (Office)
  2. คลิกบันทึก
  3. เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการเก็บเอกสาร ในช่องบนทึกใน (Save in)
  4. ตั้งชื่อเอกสารในช่องชื่อแฟ้ม (File name) ในตัวอย่างผู้เขียนใช้ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  5. คลิกปุ่มบันทึก เพื่อยืนยันการบันทึก
  6. ปรากฏชื่อไฟล์ที่บันทึกบนแท็บชื่อหัวเรื่อง (Titlebar)

2.4  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ที่มาและความสำคัญของน้ำพริกภาคเหนือ

สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่านจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำอีกทั้งยังมีชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิดซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

ประเพณีการรับประทานอาหารของภาคเหนือ ซึ่งคนไทยในภาคเหนือส่วนใหญ่ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ด้วยการจัดอาหารใส่ถ้วยเล็กๆ วางลงไปบนโตก ลักษณะโตกอาจทำด้วยไม้ มุก หรือทองเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของเจ้าของบ้าน เรียกว่า สำรับอาหารคาว ข้างโตกยังมีข้าวเหนียว ใส่ในกระติบทรงสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาค เหนือ นอกโตกยังมีคนโทดินใส่น้ำเย็น มีขันเงิน สำหรับใส่น้ำดื่ม หลังอาหารคาว จะมีโตกอาหารว่างตามมา

โดยทั่วไปหลายคนรู้จักและเคยทานแล้วแต่ละหลายคนไม่เคยรู้จักและไม่เคยทาน เราเลยจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อ  เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ น้ำพริกภาคเหนือ  ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นวัตถุดิบที่หาง่าย  สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดโดยทั่วไปเนื่องจากหนึ่งในสมาชิกกลุ่มของข้าพเจ้าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด จึงอยากนำเสนออาหารพื้นเมืองของชาวล้านนาภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากอาหารพื้นเมืองทั่วไป

 

น้ำพริกภาคเหนือ

เมนูนี้เป็นเมนูที่ข้าพเจ้าอยากจะเผยแพร่เมนูอาหาร และขั้นตอนวิธีการปรุงอาหาร ล้านนาของชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการทำน้ำพริก ได้แก่

  1. น้ำพริกอี่เก๋
    2. น้ำพริกน้ำปู
    3. น้ำพริกจิ๊นหมู

 

วิธีทำน้ำพริก

น้ำพริกอีเก๋

 

 

ส่วนผสม

1.มะเขือขื่นซอย 5ลูก

2.แคบหมู 50 กรัม

3.พริกขี้หนูสุก 5 เม็ด

4.กระเทียม 10 กลีบ

5.กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ

6.น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

7.น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ ทีละขั้นตอน

  1. โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และกะปิ รวมกันให้ละเอียด
    2. ใส่แคบหมู โขลกรวมกัน
    3. ใส่น้ำตาลทราย น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย
    4. ใส่มะเขือขื่น คนให้เข้ากัน

 

 

 

น้ำพริกน้ำปู

 

 

 

 

ส่วนผสม

1. พริกขี้หนู 20 เม็ด

2.กระเทียม 10 กลีบ

3.หอมแดง 5 หัว

4.ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ

5.น้ำปู 1 ช้อนโต๊ะ

6.เกลือ 1/2 ช้อนชา

 

 

 

วิธีทำ ทีละขั้นตอน

  1. โขลกเกลือ ตะไคร้ กระเทียม และหอมแดง รวมกันให้ละเอียด
    2. โขลกพริกขี้หนูรวมกัน
    3. ใส่น้ำปูลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน

น้ำพริกจิ๊นหมู

 

 

ส่วนผสม

1.เนื้อหมูบด 100 กรัม

2.พริกชี้ฟ้าย่างไฟ 2 เม็ด

3.หอมแดงย่างไฟ 3 หัว

4.กระเทียมย่างไฟ 5 กลีบ

5.เกลือ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ ทีละขั้นตอน

  1. ต้มหมูสับ ใส่น้ำเล็กน้อย พอสุก ตักขึ้นพักไว้
    2. โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด
    3. ใส่หมูสับ โขลกให้เข้ากัน
    4. เติมน้ำต้มหมูพอขลุกขลิก คนให้เข้ากัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.5  โครงงานที่เกี่ยวข้อง  

ชื่อเรื่อง: น้ำพริกอ่อง  เลิศรส

โดย:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5  กลุ่มที่ 22/45

ประจำปีการศึกษา  2555

                                                                        บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง: น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

ชื่อหน่วยบูรณาการ : “ น้ำพริกสารพัดนึก ”

กลุ่มผู้ศึกษา  : กลุ่มที่ 22/44 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5

โรงเรียนโนนสูงศรีธานี   อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา

เวลาที่ดำเนินการ: ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

————–*************————–

โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  และการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  เรื่องน้ำพริกอ่อง   เลิศรส  ของกลุ่มที่ 22/45 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5  ได้ดำเนินการจัดทำโครงงานบูรณาการมีวัตถุประสงค์คือ   1.  เพื่อศึกษา (ชื่อโครงงาน)  น้ำพริกอ่อง   เลิศรส ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  และ  2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน (ชื่อโครงงาน)น้ำพริกอ่อง   เลิศรส  ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา   การดำเนินงานนี้ผู้ศึกษา โดยกลุ่มได้มีขั้นตอนการดำเนินงานคือ  รวมกลุ่มกันดำเนินงาน  สืบค้นข้อมูลจากชุมชนหรือปราชญ์ชุมชนชื่อ นาง หวาน   ปล้องงูเหลือม บ้าน บัว 2 อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นนำมาเสนอในวันกิจกรรมบูรณาการของโรงเรียน โดยนำเสนอด้วยวาจา นำเสนอในรูปของเอกสาร และ แผ่นพับและผลิตภัณฑ์มีผู้ประเมินผลประกอบด้วยนักเรียนประเมินด้วยตนเองในส่วนของกระบวนการทำงานผู้ปกครองประเมินในส่วนของคุณธรรมจริยธรรม และครูในส่วนของด้านความรู้

มีผลการศึกษา พบว่า

  1. (ชื่อโครงงาน)น้ำพริกอ่อง   เลิศรส  ในเขตอำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา  มีขั้นตอนจัดทำ ดังนี้  1. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
    2. โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ
    3. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักพักจนเริ่มหอมก็ใส่หมูสับลงไป
    4. ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุก ก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ

 

 

 

  1. ความพึงพอใจในการดำเนินงานมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

(มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด)

ข้อค้นพบใหม่ที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงานนี้คือ ได้รับความรู้เรื่องของน้ำพริกในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันว่ามีความเป็นมาอย่างไร และก็ได้รับความสามัคคีจากคณะกลุ่ม  และได้รับความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

(เป็นข้อมูลที่นักเรียนไม่เคยได้รับรู้มาก่อน ให้บันทึกตามจริง)

 

บทที่ 1

บทนำ

 

1.ความสำคัญและเหตุผลในการจัดทำโครงงาน

เพื่อเป็นความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน และในการหาความรู้เรื่องน้ำพริกและความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อนำในใช้ในการดำเนินชีวิต  และจะได้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานและการมีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะได้มีการแสดงออกมากขึ้นและจะได้รู้ถึงปัญหาในการดำเนินงานและจะได้เป็นคนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพะหน้าเพื่อที่จะได้เป็นคนที่มีปฏิญาณไหวพริบในการจัดทำและการแก้ปัญหา

  1. วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อศึกษา (ชื่อโครงงาน)  น้ำพริกอ่อง เลิศรส

ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

2.2   เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน (ชื่อโครงงาน)  น้ำพริกอ่อง เลิศรส

ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

  1. เป้าหมายของการศึกษา

3.1  ศึกษาเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน)   น้ำพริกอ่อง  เลิศรส  มีรายละเอียดที่ศึกษาประกอบด้วยส่วนประกอบ  วิธีทำ   ประวัติความเป็นมาของน้าพริก

3.2 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

3.3  สถานที่ดำเนินงาน

3.3.1  ดำเนินงานศึกษาหาความรู้จาก (ชื่อและสถานที่ดำเนินการจริง)

26   บ้านบัว 2  ตำบลโนนสูง     อำเภอโนนสูง    จังหวัด นครราชสีมา

3.3.2  นำเสนอโครงงาน ที่โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

 

  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

4.1   ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน)  น้ำพริกอ่อง เลิศรส

4.2   ผู้ศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานบูรณาการ

4.3   ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดทำโครงงานไปเป็นแนวทางการศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

การศึกษาเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง  เลิศรส กลุ่มผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานดังนี้ โดยมีข้อมูลที่ครูสอนในวิชาที่บูรณาการจำนวน 8 วิชา โดยสรุปดังนี้

1.วิชาคณิตศาสตร์

เซตในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เกออร์ก คันทอร์     (Georg Cantor) เป็นผู้เริ่มใช้คำว่า “เซต” จากนั้นนักตณิตศาสตร์จึงใช้คำนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยความรู้ในเรื่องเซตสามารถนำมาเชื่อมโยงเนื้อหาในคณิตศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น ฟังก์ชั่น  ความน่าจะเป็น

1.1  เซต (Sets)

ในวิชาคณิตศาสตร์ ใช้คำว่า “เซต” ในการกล่าวถึงกลุ่มของสิงต่างๆ  และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม   เช่น

เซตของชื่อวันในสัปดาห์

เซตของคำตอบของสมาการ x² – 4 = 0

เรียก สิ่งที่อยู่ในเซต ว่า สมาชิก (elements)  เช่น

เซตของชื่อวันในสัปดาห์  มีสมาชิกได้แก่  จันทร์  อังคาร  พุธ พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์  และอาทิตย์

เซตของคำตอบของสมาการ x² – 4 = 0  มีสมาชิกได้แก่  – 2  และ2

  1. วิทยาศาสตร์

น้ำพริกอ่อง เลิศรส

ส่วนผสม

1.เนื้อหมูสับ 1/2 กก
2. มะเขือเทศสีดา 15 ลูก
3. ผักชี ต้นหอมอย่างล่ะ 2 ต้น
4. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำมันสำหรับผัด 4 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
    2. โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ
    3. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักพักจนเริ่มหอมก็ใส่หมูสับลงไป
    4. ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุก ก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียกเข้มข้น คนให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน ชิมรสตามชอบ จากนั้นก็ปิดเตาและยกลงได้
    5. ตักใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟ
  2. วิชาสังคมศึกษา

ประเพณีพื้นบ้าน

น้ำพริกอ่องเป็นอาหารภาคเหนือที่คนทั่วไปติดใจในรสชาติเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น การปรุงน้ำพริกอ่องนี้รูปแบบจะต่างไปจากน้ำพริกทั่วไป คือ น้ำพริกอ่องจะมีหมูสับเป็นส่วนประกอบคล้ายกับน้ำพริกมะขามหรือน้ำพริกลงเรือของภาคกลาง การปรุงน้ำพริกอ่องจะไม่ใช้น้ำตาล รสหวานจะได้จากความหวานของมะเขือเทศ ส่วนรสเปรี้ยวนั้นได้จากมะเขือส้ม คือมะเขือเทศผลเล็กชนิดพวง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวกว่ามะเขือเทศโดยทั่วไป นอกจากนั้นจะใช้ถั่วเน่า คือ ถั่วเหลืองที่เอามาหมักแล้วทำเป็นแผ่นตากแดดให้แห้งใช้แทนกะปิ หรือถ้าไม่มีถั่วเน่าก็จะใช้กะปิ 1 ช้อนชาแทน หรือใช้เต้าเจี้ยวดำสัก 3 ช้อนโต๊ะ ล้างน้ำให้หายเค็มแทนก็ได้เช่นกัน

น้ำพริกอ่อง

ลักษณะของน้ำพริกอ่อง ต้องมีความข้น และไม่แห้ง จะมีรสชาติเผ็ดเปรี้ยว หวานกลมกลืนกัน แต่ไม่นิยมปรุงความหวานจากน้ำตาล เพราะน้ำพริกอ่องมีส่วนผสมของหมูติดมัน ถ้าใส่น้ำตาลลงไปจะทำให้เลี่ยน นิยมความหวานจากธรรมชาติของมะเขือสับ และปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะเขือเทศกับน้ำส้มมะขามเปียก

  1. ภาษาไทย

การเขียนเรียงความมี 3 ย่อหน้า

1.คำนำหมายถึง  เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา   การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้

*ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ

* ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

* ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย

*  อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้

2.เนื้อเรื่องหมายถึง เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้

การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้

* ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ

* ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ

*เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ

3.สรุปหมายถึง  เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้

*  เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)

* อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น

* ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้

* ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก

  1. วิชาภาษาอังกฤษ

Garnish
– 250 g minced pork.
– 2 tablespoons red curry paste.
– Tomatoes 20 small balls.
– Soy sauce (or fish sauce) 1 tbsp.
– Sugar is 2 ½ tbsp.
– Concentrated tamarind juice 1 tsp.
– 2 tablespoons vegetable oil.
Ingredient
One. Pork chops ½ kg.
Two. Tomato color 15 balls.
Three. Celery and onion for 2 trees.
4th. Sauce 3 tbsp.
Five. Coconut 2 tablespoons sugar.
6. 4 tablespoons oil for stir-fry.
Curry paste mixture.
One. Dried 10 tablets.
Two. Shallots, chopped 4 tbsp.
Three. Garlic, minced 4 tablespoons.
4th. Coriander root root 5.
Five. Paste 1 tsp.
6., Salt, 1 tsp.
(Pound everything together thoroughly).
How do
One. Tomato juice to wash it thoroughly. Cut into four parts. I put in a mortar with curry sauce.
Two. Pounded chilli, tomato paste and mix well with enough rough.
Three. Preheat to medium heat. Put oil in a pot. Wait until the oil is hot, add the pounded them into a paste. Stir until onion is awhile to pork chops.
4th. Fried pork chops to the sauce, until pork is cooked. It is seasoned with spices and soy sauce (or fish sauce), palm sugar and tamarind juice concentrate. All the ingredients together to taste like, then turn off the stove and put down.
Five. Dip bowl, then serve with fresh vegetables such as beans, cucumbers, lettuce and forums.

  1. วิชาศิลปะการประดิษฐ์ท่ารำในการแสดงนาฏศิลป์

การประดิษฐ์ท่ารำ    ในการแสดงนาฏศิลป์    มีหลากหลายประการซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาประกอบ ได้แก่  ประเภทของการแสดง ดนตรี บทร้อง  เครื่องแต่งกาย  อารมณ์ ความรู้สึก แลการเคลื่อนไหวของผู้แสดง  ทั้งนี้เพื่อให้ประดิษฐ์ท่ารำมีความความประณีต  สวยงาม  สื่อความหมายได้ชัดเจน มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันทั้งท่ารำ ทำนอง จังหวะของเพลง และเครื่องแต่งกายเหมาะสมกับชุดการแสดง ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง แนวทางในการประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่ และเป็นหมู่

3.1การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่

การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่  ผู้ประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จังหวะ บทร้อง และเครื่องแต่งกาย   ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้  ผู้ประดิษฐ์ท่ารำต้องนำมาหลอมรวมให้มีความเป็นเอกภาพ

ความเป็นเอกภาพในการประดิษฐ์ท่ารำ การนำองค์ประกอบต่างๆ อาทิ ดนตรี จังหวะ บทร้อง และการเครื่องการแต่งกาย ทุกส่วนต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้  เพื่อสร้างให้เกิดความกลมกลืนไม่ควรมีความแตกต่างในองค์ประกอบอย่างมากมาย   จนทำให้การประดิษฐ์ท่ารำในชุดนั้นขาดความเป็นเอกภาพ  การประดิษฐ์ท่ารำมี่เป็นคู่    มีแนวดังนี้

1) การประดิษฐ์ท่ารำแนวอนุรักษ์      ส่วนมากจะใช้ท่ารำที่เป็นแบบแผนมาตั้งแต่ดั้งเดิม  คือ เพลงช้า-เพลงเร็ว   ท่ารำในกลอนตำรารำนั้นเป็นการตีความหมายตามบทร้อง  และทำนองเพลง

2) การประดิษฐ์ท่ารำแนวคิดสร้างสรรค์    จะเป็นการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ โดยได้แนวคิดมาจากการรับอิทธิพลของต่างประเทศทั้งตะวันออกและตะวันตก

การประดิษฐ์ท่ารำให้กับผู้รำที่เป็นคู่   ผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องคำนึกถึกสิ่งดังต่อไปนี้

(1) รูปแบบ การรำที่เป็นคู่ หมายถึง การรำเพียง ๒ คน  แต่โบราณมานิยมรำในการเบิกโรง คือ ก่อนการแสดงละครใน เช่น รำประเลง รำกิ่งไม้เงิน หรือเป็นการรำที่ตัดตอนมาจากละเรื่องใหญ่ เช่น พระรามตามกวาง  พระลอตามไก่  เมขลา-รามสูร รจนาเสี่ยงพวงมาลัย  เป็นต้น

ผู้ประดิษฐ์ท่ารำต้องกำหนดรูปแบบการรำเป็นคู่ให้ชัดเจน  เช่น คู่ชาย-หญิง คู่พระ-นาง  ชายคู่ –หญิงคู่  เพื่อการประดิษฐ์ท่ารำจะได้สอดสัมพันธ์กับผู้รำ  และการรำคู่ต้องประดิษฐ์ท่ารำให้สอดคล้องกับคู่รำไม่ใช่ต่างคนต่างรำ

(2)  จังหวะ ทำนองเพลง บทร้อง มีสำคัญในการประดิษฐ์ท่ารำ ดังนี้

1 ประดิษฐ์ท่ารำให้ตรงกับจังหวะและทำนองของเพลงอย่างกลมกลืน

2  สำเนียงเพลงของต่างชาติภาษา เช่น ทำนองเพลงสำเนียงแขก ลาว พม่า มอญ เป็นต้น การประดิษฐ์ท่ารำลีลาของชาตินั้นๆมาใส่ให้กลมกลืนกับท่ารำของนาฏศิลป์ไทยประดิษฐ์ขึ้นด้วย

3 ถ้าเป็นเพลงที่มีบทร้อง     ต้องตีความหมายว่า  “ตัวเรา”  ต้องคำนึงถึงจารีตในการปฏิบัติเป็นท่าบังคับที่ใช้เฉพาะมือซ้ายจีบเข้าอกเท่านั้น

(3) เครื่องแต่งกาย  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประดิษฐ์ท่ารำ  ดังที่อาจารย์พนิดา   สิทธวรรณผู้อำนวยการกองสังคีต  กรมศิลปากร  ให้แนวคิดไว้ว่า “เพลงดี เครื่องแต่งกายงามจะส่งผลให้ท่ารำจะส่งผลให้ท่ารำงามตามไปด้วย ”

ถ้าเป็นการรำคู่  นอกจากจะเป็นการอวดฝีมือรำแล้ว  ควรจะอวดเครื่องแต่งกายเพราะท่ารำจะงามต้องอาศัยเครื่องแต่งกายงามด้วย    การประดิษฐ์เครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลัก และแต่งกายตามรูปแบบลักษณะของชุดการแสดง เช่น ถ้าเป็นการรำในแนวอนุรักษ์ส่วนมากจะแต่งยืนเครื่องพระ-นาง  หรือถ้าเป็นการรำที่เป็นนางทั้งคู่  จะแต่งกายแบบนางใน

เรื่องสีของเครื่องแต่งกายที่เป็นการรำคู่ต้องเลือกให้เหมาะสม  เช่น สีเขียวคู่กับ สีแดง หรือสีเดียวกันทั้งคู่  ก็จะทำให้เครื่องแต่งกายดูโดดเด่น  เป็นต้น

เครื่องกายต้องออกแบบให้สอดสัมพันธ์กับท่ารำ  รูปแบบของการแสดง และบุคลิกของผู้รำ

3.2 การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่

การประดิษฐ์ท่ารำที่หมู่    ได้แก่  ระบำ   รำ ฟ้อน  ที่มีผู้รำจำนวนตั้งแต่ 2คนขึ้นไปโดยไม่กัดจำนวน

ผู้รำ  เอกลักษณ์และความโดดเด่นอยู่ที่ความพร้อมเพรียง  และความงดงามในการแปรแถว

ข้อคำนึงในการประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่   อาจารย์  ศุขะวณิช  ศิลปินแห่งชาติ  สาขา ศิลปะการแสดง

ให้แนวคิดไว้ดังนี้ คือ

การแปรแถวการแสดงนาฏศิลป์ไทยสมัยโบราณไม่นิยมแปรแถวให้หลากหลายเหมือนในปัจจุบันนิยม  มักจะนิยมแถวตรง  แถวเรียงเดี่ยวหน้ากระดาน  หรือแถวตอนคู่  หรือ ลักษณะวงกลม  โดยประดิษฐ์ท่ารำให้เหมือนกัน  ปัจจุบันได้รับอิทธิพลการแสดงของต่างประเทศจึงนำมาประดิษฐ์ท่ารำไทยให้มีการแปรแถว ตั้งซุ้ม ซึ่งผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องคำนึงถึงความกลมกลืนเป็นหลักด้วย

(1) ท่ารำต้องสัมพันธ์กับเพลง  การคิดประดิษฐ์ท่ารำจะต้องใช้วิธีฟังเพลงก่อน แล้วจึงคิดรำให้กลมกลืนไปบทร้อง  และท่วงทำนองของเพลงนั้นๆส่วนเครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลักในการออกแบบ  การเลือกสี ส่วนมากการแสดงที่เป็นหมู่จะแต่งกายแบบเดียวกัน

(2) ท่ารำเป็นหมู่คณะ   การประดิษฐ์ท่ารำที่มีลักษณะการรำเป็นหมู่คณะ  ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก  จะต้องคำนึงถึงความพร้อมเพรียงเป็นหลัก  ไม่ให้ความสำคัญแก่ท่ารำมากนัก

(3)ท่ารำที่มีบทร้อง  การประดิษฐ์ท่ารำที่มีบทร้อง  ยึดความหมายของบทร้องเป็นหลักในการประดิษฐ์ท่ารำให้ถูกต้องตามความหมายของบทร้อง

(4) ท่ารำที่มีแต่ทำนองเพลง  การประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทร้องแต่ทำนองเพลง   ให้ยึดทวงทำนองของเพลงที่บรรเลง  เช่น   อารมณ์เพลงที่แสดงถึงความรัก   ความโกรธ   ความตื่นเต้น  คึกคัก  สนุกสนาน  เป็นต้น

ถ้าเป็นการบรรเลงตลอดทั้งเพลง   การแปลแถว   จะต้องลงให้พอดีกับจังหวะใหญ่ของทำนองเพลงเช่น  ทำนองเพลงลายนี้มี ๘  จังหวะ  แล้วซอยออกมา  ๔  จังหวะ  เพราะฉะนั้น  จังหวะที่  ๑   และจังหวะที่   ๒  นั้นคือลีลา   เพื่อไปลงในจังหวะที่  ๔   แล้วเว้นช่องไปลงจังหวะที่  ๘  ก็ได้

(5) ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง   การประดิษฐ์ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง ต้องยึดหลักลีลาท่ารำเฉพาะถิ่นทั้ง  ๔   ภาค   คือ   ภาคเหนือ   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ภาคกลาง     และภาคใต้   สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งก็คือ  นำท่ารำของแต่ละภาคมาปะปนกัน  แบบหัวมังกุท้ายมังกรขาดความเป็นเอกภาพ เช่น  ตั้งชื่อชุดการแสดงว่า  ฟ้อน  แต่ท่ารำเป็นของภาคกลางแต่งกายแบบอีสาน เพลงดนตรีเป็นของภาคใต้  อย่างนี้ไม่ควรปฏิบัติ  เป็นต้น

(6) ท่ารำต้องสอดคล้องกับรสนิยม การประดิษฐ์ท่ารำ  ควรให้ตรงกับรสนิยมของสังคมในสมัยสังคมนั้นๆ

  1. วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

ใบความรู้ที่  1  เรื่อง อาหาร  5  หมู่

วิชา  สุขศึกษาและพลศึกษา   รหัส  พ33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 จำนวน 2 ชั่วโมง

ผู้สอน นายศิริศักดิ์ ภักดียา

อาหาร

อาหาร คือ สิ่งที่มีประโยชน์เมื่อร่างกายกินเข้าไปก็สามารถย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราควรกิน อาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่
หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
หมู่ที่ 3 ผักใบเขียวต่าง ๆ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน

อาหาร    หมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ อาหารหมู่นี้ส่วนใหญ่จะให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ
ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ หรือจากการเจ็บป่วยอาหารหมู่นี้จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง น้ำย่อย ฮอร์โมน ตลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติอาหารในหมู่นี้ ได้แก่ นม ไข่ เนื้อ หมู วัว ตับ ปลา ไก่ และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว
เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้

หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกาย

ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย พลังงานที่ได้จากหมู่นี้ส่วนใหญ่จะใช้ให้หมดไปวันต่อวัน เช่น ใช้ในการเดิน ทำงาน การออกกำลังกายต่าง ๆ แต่ถ้ากินอาหารหมู่นี้มากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน และทำให้เกิดโรคอ้วนได้ อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้ง  เช่น ก๋วยเตี๋ยวรวมทั้งเผือก มันต่าง ๆ น้ำตาลที่ทำมาจากอ้อยและมาจากน้ำตาลมะพร้าวอาหารหมู่ที่3 ผักต่าง ๆ

หมู่ที่ 3 อาหารหมู่นี้จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย

หมู่ที่ 3 อาหารหมู่นี้จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติอาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาด และผักใบเขียวอื่น ๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงพืชผักอื่น ๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้นนอกจากนั้นอาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ

อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรค และมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม มังคุด ลำไย เป็นต้น
หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน
หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้จากหมู่นี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก
ต้นขา เป็นต้น ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง  น้ำมันปาล์ม เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

  1. วิชาการงานและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)

การทำ Bloggre

วิธีการทำน้ำพริกอ่อง
1. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
2. โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ
3. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักพักจนเริ่มหอมก็ใส่หมูสับลงไป
4. ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุก ก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียกเข้มข้น คนให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน ชิมรสตามชอบ จากนั้นก็ปิดเตาและยกลงได้
5. ตักใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟพร้อมผักสดต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว และแตงกวา ได้เลย

 

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

 

การศึกษาเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน)  น้ำพริกอ่อง  เลิศรส

กลุ่มผู้ศึกษา ได้กำหนดขั้นตอนในการศึกษาดังนี้

1.ขั้นเตรียมการ

1.1  จัดทำข้อสอบก่อนเรียน 10 ข้อ

1.2  ศึกษาและเรียนรู้ในรายวิชาที่ครูผู้สอนได้ร่วมจัดทำหน่วยบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระ

1.3  รวมกลุ่มกันจัดทำโครงงานบูรณาการ ในหน่วยการเรียนรู้

โดยมีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่ม 11 คน

ประกอบด้วย

  1. นาย ดลวิทย์   ช่างเก่ง                           ชั้น ม.4/5   เลขที่ 3
  2. นาย กวินกุน   หว่ากลาง                     ชั้น ม.4/5   เลขที่ 6
  3. นางสาว ชนิษรา   เชยอารมณ์              ชั้น ม.4/5   เลขที่ 9
  4. นางสาว จุฑามาศ   สะมุล                   ชั้น ม.4/5   เลขที่ 34
  5. นางสาว ลีลาวดี   เผยกลาง                  ชั้น ม.4/5   เลขที่ 36
  6. นางสาว วรดา   หมายเกี่ยวกลาง         ชั้น ม.4/5   เลขที่ 37
  7. นางสาว เจนจิรา   จินดากลาง             ชั้น ม.4/5   เลขที่ 44
  8. นางสาว สโรชา   พลวงนอก               ชั้น ม.4/5   เลขที่ 48
  9. นางสาว สุภาวดี   ชนทองหลาง          ชั้น ม.4/5   เลขที่ 51
  10. นางสาว ฐิติมาพูนศรี                         ชั้น ม.4/5  เลขที่ 53
  11. นางสาว ญาสุมินทร์เทียมทองหลาง   ชั้น ม.4/5  เลขที่ 54

 

1.4  ตั้งชื่อโครงงาน เรื่อง น้ำพริกอ่อง  เลิศรส

  1. ขั้นตอนดำเนินการ

2.1  สำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับ

(ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

2.2  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

2.3  ฝึกปฏิบัติ/บันทึกข้อมูล/ถ่ายภาพเกี่ยวกับ/(ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

2.4  ประเมินความพึงพอใจ

2.5  นำข้อมูลมาเขียนรายงาน 5 บท และนำเสนอโครงงาน

  1. ขั้นตอนการประเมินผล

3.1   นักเรียนร่วมกันประเมินผลด้านกระบวนการทำงาน (Process)  5 คะแนน

3.2   ผู้ปกครองร่วมกันประเมิน ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Attitude)   5 คะแนน

3.3   ครูประเมินผลด้านความรู้   (Knowledge)  10  คะแนน

ในวันประเมินผลด้านความรู้ นักเรียนได้นำมาเสนอด้วยวาจาและในรูปของรายงาน 5 บท, แผงโครงงาน แผ่นพับ และ รูปเล่ม ผลิตภัณฑ์

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4

ผลการศึกษาและบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

การศึกษาเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

กลุ่มผู้ศึกษา สรุปผลการศึกษาดังนี้

1.ขั้นตอนจัดทำ  น้ำพริกอ่อง   เลิศรส   มีขั้นตอนดังนี้

 

ลำดับที่

รายการ จำนวน
1. เนื้อหมูสับ 1/2 กก
2. มะเขือเทศสีดา 15 ลูก
3. ผักชี ต้นหอมอย่างล่ะ 2 ต้น
4. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำมันสำหรับผัด 4 ช้อนโต๊ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
    2. โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ

3.เปิดเตาไฟที่ปานกลาง  นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ  รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักจนเริ่มหอมฏ็ใช้หมูสับลงไป

4.ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุกก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้ว (หรือ น้ำปลา) น้ำตาลปิ๊บ  และน้ำมะขามเปียกเข้มข้น คนให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน ชิมรสตามชอบจากนั้นก็ปิดเตาและยกลงได้

5.ตักใส่ถ้วย  จากนั้นก็ยกเสริฟ์พร้อมผักสดต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว และแตงกวา ได้เลย

2.ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดทำโครงงาน และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ

     (P = Process)

คำชี้แจง กลุ่มนักเรียนร่วมกันประเมิน ใส่เครื่องหมาย   /  ในช่องที่เห็นว่าตรงกับความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียน              ระดับ    5         ความพึงพอใจมากที่สุด

ระดับ    4         ความพึงพอใจมาก

ระดับ    3         ความพึงพอใจปานกลาง

ระดับ    2         ความพึงพอใจน้อย

ระดับ    1         ความพึงพอใจ

 

 

ที่

รายการประเมินความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ
5 4 3 2 1
1 การรวมกลุ่มของนักเรียน /
2 การร่วมกันสืบค้นข้อมูล /
3 กระบวนการคิดสร้างสรรค์งาน /
4 การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม /
5 การจัดทำเอกสาร /
รวม (กี่ข้อ) 5
ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด 3
ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือกคือ 5

 

  1. ผลการประเมินของผู้ปกครอง

ผลการประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม หรือเจตคติ โดยพิจารณา

จากการตั้งในทำงาน การมีวินัย  ความรับผิดชอบในการทำของนักเรียน

มีผลการประเมินของผู้ปกครอง ดังนี้

 

ที่

รายการประเมินความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ
5 4 3 2 1
1 การตั้งใจทำงาน /
2 การขออนุญาตผู้ปกครองไปทำกิจกรรม /
3 กลับบ้านตรงเวลา /
4 การมีวินัย /
5 ทำกิจกรรมแล้วเก็บสิ่งของให้เรียบร้อย /
รวม (กี่ข้อ) 5
ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด 3
ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือกคือ 5

 

  1. ผลการบูรณาการจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานของนักเรียนคือ เรื่อง น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

(ตัวอย่างเช่น ทำขนมครก มีผลลัพธ์ที่เกิดจากขนมครกตามวิชาต่าง ๆ เช่น

–  คณิตศาสตร์

ส่วนผสมของขนมครกประกอบด้วย  และมีอัตราส่วนต่าง ๆ

ดังนี้ เป็นต้น

–   ภาษาต่างประเทศ

วิธีการทำขนมครก เป็นภาษาอังกฤษ , ส่วนประกอบต่าง ๆเป็นภาษาอังกฤษ

–  ภาษาไทย

เขียนกลอน ชมขนมครก, เขียนความเรียงหรือเรียงความเกี่ยวกับขนมครกที่

ตนเองผลิตขึ้นมา,

–   การงานอาชีพและเทคโนโลยี

เขียนวิธีการทำขนมครกเป็นภาษาไทย  ทำแผ่นพับขนมครก, เผยแพร่ผลงานการ

ทำขนมครก พร้อมรูปภาพ และ รายงาน 5 บท ใส่ใน blog หรือ รวบรวมลงใน

website โรงเรียน,  การทำกล่องกระดาษใส่ขนมครกติดตาโลโก้ตนเอง

–   วิทยาศาสตร์

เขียนสารอาหารที่ได้รับจากขนมครก

–   ศิลปะ

วาดรูปขนมครก หรือจินตนาการเกี่ยวกับขนมครก, การทำโลโก้ขนมครกติดกล่อง

–   สังคมศึกษา

ขนมครกใช้ในประเพณีต่าง ๆ อะไรได้บ้าง   ประวัติการทำขนมครก

มีใครทำขนมครกบ้างในท้องถิ่นตนเอง

–   สุขศึกษาและพลศึกษา

ประโยชน์ของขนมครก

4.1   วิชาคณิตศาสตร์

เซต

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เกออร์ก คันทอร์     (Georg Cantor) เป็นผู้เริ่มใช้คำว่า “เซต” จากนั้นนักตณิตศาสตร์จึงใช้คำนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยความรู้ในเรื่องเซตสามารถนำมาเชื่อมโยงเนื้อหาในคณิตศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น ฟังก์ชั่น  ความน่าจะเป็น

1.1  เซต (Sets)

ในวิชาคณิตศาสตร์ ใช้คำว่า “เซต” ในการกล่าวถึงกลุ่มของสิงต่างๆ  และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม   เช่น

เซตของชื่อวันในสัปดาห์

เซตของคำตอบของสมาการ x² – 4 = 0

เรียก สิ่งที่อยู่ในเซต ว่า สมาชิก (elements)  เช่น

เซตของชื่อวันในสัปดาห์  มีสมาชิกได้แก่  จันทร์  อังคาร  พุธ พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์  และอาทิตย์

เซตของคำตอบของสมาการ x² – 4 = 0  มีสมาชิกได้แก่  – 2  และ2

 

 

4.2   วิทยาศาสตร์

 

 

ชื่อธาตุและสารประกอบ

สูตรทางเคมี ส่วนผสมที่พบในน้ำพริก ประโยชน์
สารแคปไซซิน

(capsaicin)

C18H27No3 พริก เป็นสารที่ช่วยป้องกันความชรา
เซเลเนียม (selenium) Se หอมแดง  กระเทียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
โปรแทสเซียม (Potassium) K หอมแดง  กระเทียม ช่วยให้เซลล์แข็งแรง

 

4.3   วิชาสังคมศึกษา

น้ำพริกอ่องเป็นอาหารภาคเหนือที่คนทั่วไปติดใจในรสชาติเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น การปรุงน้ำพริกอ่องนี้รูปแบบจะต่างไปจากน้ำพริกทั่วไป คือ น้ำพริกอ่องจะมีหมูสับเป็นส่วนประกอบคล้ายกับน้ำพริกมะขามหรือน้ำพริกลงเรือของภาคกลาง การปรุงน้ำพริกอ่องจะไม่ใช้น้ำตาล รสหวานจะได้จากความหวานของมะเขือเทศ ส่วนรสเปรี้ยวนั้นได้จากมะเขือส้ม คือมะเขือเทศผลเล็กชนิดพวง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวกว่ามะเขือเทศโดยทั่วไป นอกจากนั้นจะใช้ถั่วเน่า คือ ถั่วเหลืองที่เอามาหมักแล้วทำเป็นแผ่นตากแดดให้แห้งใช้แทนกะปิ หรือถ้าไม่มีถั่วเน่าก็จะใช้กะปิ 1 ช้อนชาแทน หรือใช้เต้าเจี้ยวดำสัก 3 ช้อนโต๊ะ ล้างน้ำให้หายเค็มแทนก็ได้เช่นกัน

น้ำพริกอ่อง

ลักษณะของน้ำพริกอ่อง ต้องมีความข้น และไม่แห้ง จะมีรสชาติเผ็ดเปรี้ยว หวานกลมกลืนกัน แต่ไม่นิยมปรุงความหวานจากน้ำตาล เพราะน้ำพริกอ่องมีส่วนผสมของหมูติดมัน ถ้าใส่น้ำตาลลงไปจะทำให้เลี่ยน นิยมความหวานจากธรรมชาติของมะเขือสับ และปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะเขือเทศกับน้ำส้มมะขามเปียก

4.4 ภาษาไทย  เรียงความเรื่องน้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องเป็นอาหารภาคเหนือที่คนทั่วไปติดใจในรสชาติเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น การปรุน้ำพริกอ่องนี้รูปแบบจะต่างไปจากน้ำพริกทั่วไป คือ น้ำพริกอ่องจะมีหมูสับเป็นส่วนประกอบคล้ายกับน้ำพริมะขามหรือน้ำพริกลงเรือของภาคกลาง การปรุงน้ำพริกอ่องจะไม่ใช้น้ำตาล รสหวานจะได้จากความหวานขอมะเขือเทศ ส่วนรสเปรี้ยวนั้นได้จากมะเขือส้ม คือมะเขือเทศผลเล็กชนิดพวง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวกว่ามะเขือเทศโดยทั่วไป น้ำพริกอ่อง

นับเป็นน้ำพริกล้านนาชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปพอ ๆ กับ น้ำพริกหนุ่ม ในงานเลี้ยงแบบขันโตกดินเนอร์ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนดินแดนถิ่นไทยงาม หากขาดซึ่งน้ำพริกอ่องแล้ว นั่นถือว่าเป็นข้อบกพร่องอันใหญ่หลวงจนมิน่าจะให้อภัยเป็นอย่างยิ่งน้ำพริกอ่องเครื่องปรุงหลัก ๆ ดังนี้ เนื้อหมูสับ พริกแห้ง กระเทียม หอม มะเขือเทศ เกลือ ปลาร้า ( อาจใส่หรือไม่ก็ได้ ) ถั่วเน่าแข็บ ( ถั่วเหลืองหมักทำเป็นแผ่นตากแห้ง หากไม่มีใส่เต้าเจี้ยวแทนได้ ) กะปิ ( ใส่หรือไม่ก็ได้ ) รากผักชี ผักชี ต้นหอมหั่น น้ำมันหมู  ขั้นตอนการทำเริ่มจากนำพริกแห้ง ( จะให้ดีควรแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ซักระยะหนึ่งก่อน ) หอม กระเทียม เกลือ และรากผักชีโขลกพร้อมกัน เมื่อแหลกดีแล้วเอากะปิ ปลาร้า และถั่วเน่าแข็บซึ่งย่างไฟแล้ว หรือเต้าเจี้ยวใส่ลงไปโขลกให้เข้ากัน ส่วนเนื้อหมูสับให้ละเอียด มะเขือเทศหั่น หรือใส่ครกบด ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอสมควร เอากระเทียมลงเจียวพอหอมแล้วเอาน้ำพริกลงผัด ใส่เนื้อหมู และมะเขือเทศตามลำดับ พอเนื้อหมู และมะเขือเทศเริ่มสุก เติมน้ำพอสมควร เคี่ยวจนงวด ปรุงรสตามใจชอบแล้วยกลง นำผักชี ต้นหอม หั่นโรยหน้าบางสูตรจะเอาหมูลงผัดก่อนแล้วจึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศโขลกให้เข้ากันดีก่อนแล้วค่อยนำไปผัดในน้ำมันบางสูตรก็ย่างพริกแห้งให้หอมก่อนโขลกรวมกับเครื่องแกงอื่น ๆ
ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง  มีสีส้มของสีมะเขือเทศ และพริกแห้ง เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ดเล็กน้อย และรสหวานตาม ในการรับประทานน้ำพริกอ่องจะนิยมใช้ผักจิ้ม เช่น มะเขือเปราะ ถัวฝักยาว ผักกาดขาว ต้นหอม ผักชี ถั่วพู กะหล่ำปลี แตงกวา จะนึ่งจะลวกหรือกินสดก็ได้ หากมีแคบหมูมากินด้วยก็ยิ่งอร่อยเพิ่มรสชาติให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นปัจจุบันน้ำพริกอ่องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ประสบการณ์ความชำนาญของผู้ปรุง ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้ลิ้มลองสัมผัสกับรสชาติของน้ำพริกอ่องในห้องอาหารตามโรงแรมหรู หลายแห่งในจังหวัเชียงใหม่ จนเกิดความรู้สึกทึ่งในความคิดสร้างสรรค์ของหัวหน้าพ่อครัวห้องอาหารนั้น ๆบางร้านจะเน้นความสำคัญกับปริมาณหมูสับมาก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วนึกยังไงก็นึกไม่ออกเลยว่า นี่คือน้ำพริกชนิดหนึ่งของคนล้านนา เพราะมีรสคล้ายคลึงกับหลนอะไรซักอย่าง บางรายรสชาติมีส่วนคล้ายกับน้ำราดสปาเก็ตตี้ของชาวอิตาเลี่ยนตอนใต้ บ้างก็มีไข่เจียวหั่นเป็นฝอยประดับอยู่บนส่วนหน้าของน้ำพริก แม้กระทั่งเนื้อลำไย ลิ้นจี่ และ องุ่นก็ยังเคยเจอหากมองโลกในแง่ดีก็จะเห็นว่าผู้ปรุงนับเป็นศิลปินผู้มีจินตนาการอันบรรเจิด ต้องการจะต่อยอดภูมิปัญญาล้านนาโบราณ คงไม่มีใครตั้งใจจะทำลายรสชาติของแท้และดั้งเดิม อันเป็น

เอกลักษณ์สืบเนื่องติดต่อกันมาช้านานหลายชั่วอายุคนอย่างไรก็ตามน้ำพริกอ่องยังคงครองความเป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนามาแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบันอ้างอิงจาก ล้านนาคดี

น้ำพริกอ่องและผักที่นำมารับประทานกับน้ำพริกอ่องจะรับประทานสดๆ หรือจะทำให้สุกโดยการลวก ต้มก่อนก็ได้ แล้วแต่จะชอบอย่างไรน้ำพริกอ่องก็เช่นเดียวกับน้ำพริกชนิดอื่นๆ ที่รวมความกลมกลืนของรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน ซึ่งสรรพคุณของอาหารจะเป็นไปตามรส คือ รสหวาน รสเปรี้ยว รสเผ็ด จะช่วยเจริญอาหารแน่น

 

4.5 วิชาภาษาอังกฤษ

Garnish
– 250 g minced pork.
– 2 tablespoons red curry paste.
– Tomatoes 20 small balls.
– Soy sauce (or fish sauce) 1 tbsp.
– Sugar is 2 1/2 tbsp.
– Concentrated tamarind juice 1 tsp.
– 2 tablespoons vegetable oil.

Ingredient
One. Pork chops 1/2 kg.
Two. Tomato color 15 balls.
Three. Celery and onion for 2 trees.
4th. Sauce 3 tbsp.
Five. Coconut 2 tablespoons sugar.
6. 4 tablespoons oil for stir-fry.
Curry paste mixture.
One. Dried 10 tablets.
Two. Shallots, chopped 4 tbsp.
Three. Garlic, minced 4 tablespoons.
4th. Coriander root root 5.
Five. Paste 1 tsp.
6., Salt, 1 tsp.
(Pound everything together thoroughly).

How do
One. Tomato juice to wash it thoroughly. Cut into four parts. I put in a mortar with curry sauce.
Two. Pounded chilli, tomato paste and mix well with enough rough.
Three. Preheat to medium heat. Put oil in a pot. Wait until the oil is hot, add the pounded them into a paste. Stir until onion is awhile to pork chops.
4th. Fried pork chops to the sauce, until pork is cooked. It is seasoned with spices and soy sauce (or fish sauce), palm sugar and tamarind juice concentrate. All the ingredients together to taste like, then turn off the stove and put down.
Five. Dip bowl, then serve with fresh vegetables such as beans, cucumbers, lettuce and forums.

4.6 วิชาศิลปะ

 

 

ทำนองเพลง

เพลงน้ำพริก “อ่อง”

ต่อไปนี้จะเล่า                                                             ถึงอาหราอร่อย

คือน้ำพริกอ่องที่กินบ่อยๆ                                          รสชาติแซบดี

วิธการก็ง่าย                                                                จะกล่าวได้ต่อไปนี้

มันเป็นวิธี                                                                  ที่วิเศษเหลือหลาย

ไปซื้อหมูสับ                                                               ที่ขนาดพอเหมาะ

สับสับเฉาะเฉาะ                                                          ไม่ต้องมากมาย

ตำพริกกับกระเทียม                                                    ให้เยี่ยมกลิ่นอาย

มะขามน้ำปลาน้ำตาลทราย                                         น้ำตาลปีบถ้ามี

ปรุงรสให้แซบหนอ                                                    กะปิป่นของดี

มะเขือเทศเร็วเข้า                                                         เอาถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่

เสร็จสรรพแล้วซี                                                         ยกออกจากครัว

4.7  วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

ม. 4/5   กลุ่มที่  22/44

ใบงานที่  2

รายวิชา  :  สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา 31202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   โรงเรียนโนนสูงศรีธานี

ผู้สอน  :   นายศิริศักดิ์  ภักดียา

 

เรื่อง  อาหารท้องถิ่นกับการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

คำสั่ง  ให้นักเรียนสัมภาษณ์ ปราชญ์ชุมชุนที่นักเรียนอาศัยอยู่  เกี่ยวกับเมนูอาหารในท้องถิ่นนักเรียน  1  เมนู  ดังนี้

  1. ปราชญ์/ วิทยากร

ชื่อ นางหวาน   ปล้องงูเหลือม

ที่อยู่  บ้าน บัว 2  บ้านเลขที่ 26 หมู่ – ตำบลโนนสูง

อำเภอ  โนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา

บทสัมภาษณ์  โดยสรุปทำน้ำพริกมา 10 ปี และได้ทดลองการทำน้ำพริกอ่องมาแล้วเป็นเวลามา 7 ปี  ยายหวานได้บอกวิธีการทำน้ำพริกอ่อง ประวัติความเป็นมา สูตรของน้ำพริกว่าวิธีการทำเป็นอย่างไร

 

  1. ชื่อเมนูอาหารน้ำพริกอ่อง  เลิศรส

 

  1. ส่วนประกอบอาหาร

3.1  เนื้อหมู กะปิ หมู่ 1   สารอาหารที่ได้รับโปรตีน

3.2  น้ำตาล  หมู่ 2   สารอาหารที่ได้รับคาร์โบไฮเดรต

3.3 มะเขือเทศ กระเทียม หอม  หมู่ 3   สารอาหารที่ได้รับ วิตามิน

3.4  –    หมู่ –    สารอาหารที่ได้รับ  –

3.5 น้ำมันพืช หมู่ 5 สารอาหารที่ได้รับไขมัน

3.6  –  หมู่ –   สารอาหารที่ได้รับ-

 

  1. วิเคราะห์ ประโยชน์ทางโภชนาการต่อร่างกาย

คือ  เมื่อเรากินอาหาร เช่น น้ำพริก ผัก ผลไม้ แล้วเมื่อเข้าสู่เข้าสู่ร่างกายคนแล้ว  ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุนและการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย โภชนาการมีความหมายกว้างกว่าและต่างจากคำว่าอาหาร  เพราะอาหารที่กินกันอยู่ทุกวันนี้มีดีเลวต่างกัน อาหารหลายชนิดที่กินแล้วรู้สึกอิ่ม แต่ไม่มีประโยชน์ หรือก่อโทษต่อร่างกายได้

4.8   วิชาการงานและเทคโนโลยี

วิธีการทำน้ำพริกอ่อง
1. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
2. โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ
3. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักพักจนเริ่มหอมก็ใส่หมูสับลงไป
4. ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุก ก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียกเข้มข้น คนให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน ชิมรสตามชอบ จากนั้นก็ปิดเตาและยกลงได้
5. ตักใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟพร้อมผักสดต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว และแตงกวา ได้เลยค่ะ

 

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ

 

การศึกษาเกี่ยวกับ (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง  เลิศรส

กลุ่มผู้ศึกษา สรุปผลการศึกษาดังนี้

  1. วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อศึกษา (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

2.2   เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน (ชื่อโครงงาน) น้ำพริกอ่อง   เลิศรส

ในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

  1. ขั้นตอนจัดทำ  น้ำพริกอ่อง   เลิศรส   สรุปผลขั้นตอนการทำ ดังนี้
  2. นำมะเขือเทศมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นสี่ส่วน แล้วนำไปใส่ในครกรวมกับน้ำพริกแกงเผ็ด
    2.โขลกมะเขือเทศกับน้ำพริกแกงเผ็ดให้เข้ากันพอหยาบ

3.เปิดเตาไฟที่ปานกลาง  นำน้ำมันใส่ลงในหม้อ  รอจนน้ำมันเริ่มร้อนก็ใส่น้ำพริกที่โขลกไว้ลงไป ผัดซักจนเริ่มหอมฏ็ใช้หมูสับลงไป

4.ผัดหมูสับให้เข้ากับน้ำพริกจนหมูสับสุกก็ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้ว (หรือ น้ำปลา) น้ำตาลปี๊บ  และน้ำมะขามเปียกเข้มข้น คนให้เครื่องปรุงทั้งหมดเข้ากัน ชิมรสตามชอบจากนั้นก็ปิดเตาและยกลงได้

5.ตักใส่ถ้วย  จากนั้นก็ยกเสริฟ์พร้อมผักสดต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว และแตงกวา ได้เลย3. ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดทำโครงงาน และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ

      (P = Process)

ค่าเฉลี่ยของคะแนน                 เท่ากับ 4          (เต็ม 5 คะแนน)

ความหมายของค่าคะเฉลี่ย      เท่ากับ             มีความพึงพอใจปานกลาง

  1. ผลการประเมินของผู้ปกครอง  ประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A  =  Attitude)

ค่าเฉลี่ยของคะแนน                 เท่ากับ 4          (เต็ม 5 คะแนน)

ความหมายของค่าคะเฉลี่ย      เท่ากับ             มีความพึงพอใจปานกลาง

 

  1. ประเมินผลด้านความรู้

ค่าเฉลี่ยของคะแนน                 เท่ากับ 5          (เต็ม 10  คะแนน)

ความหมายของค่าคะเฉลี่ย      เท่ากับ             มีความพึงพอใจปานกลาง.

(นำผลการประเมินจากการประเมินของครูในวันจัดกิจกรรมบูรณาการมาใส่)

 

6.ข้อค้นพบใหม่ที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงานนี้(ตามความเป็นจริง) คือ

เราได้นำเศรษฐกิจมาใช้ในการทำโครงงาน และเราเรียนถึงความเป็นมาของน้ำพริก ประโยชน์ของน้ำพริก  และเรียนรู้ศึกษาจากภูมิปัญญาไทย  ได้รับความสามัคคีในการทำโครงงาน

  1. ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงสำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

ขอให้มีเวลาทำโครงงานมากกว่านี้ เพื่อที่เราจะได้เตรียมเนื้อหาในการทำโครงงานส่วนในการทำน้ำพริกเราจะได้มีเวลาในการศึกษาวิธีการทำ

  1. นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้อดย่างไรกับโครงงานของนักเรียน (อธิบาย)

ในการทำโครงงานเราก็หาเศษวัสดุต่างๆ ที่เราไม่ใช้มาจัดทำในโครงงานของเรา ส่วนในการทำน้ำพริกเราก็หาเครื่องปรุงที่เรามีอยู่ในครัวเรือนมาประกอบเพื่อประหยัดในการใช้จ่าย ส่วนผักที่เราไว้กินกับน้ำพริกเราก็เก็บเอาจากสวนที่เราปลูก

 

รายชื่อครูคณะกรรมการบูรณาการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

 

 

ที่

ชื่อ –สกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้ หมายเหตุ
1 นาย ธวัชชัย   วัชระประทีป ภาษาไทย
2 นางสาว มลฑิรา   ชมภูธร ภาษาไทย
3 นาง สุวิชญา   ดังไธสง คณิตศาสตร์
4 Zhoe   Jieng   ping ภาษาต่างประเทศ
5 นาย ศิริศักดิ์   ภักดียา สุขศึกษาและพลศึกษา
6 นางสาว เกณิกา   วงศ์นรินทร์ ศิลปะ
7 นาง นภาพร   แป้นขำ วิทยาศาสตร์
8 นาย โสม   ยากลิ่น ภาษาต่างประเทศ
9 นาง ปราณีต   วงศ์ปัตแก้ว สังคมศึกษาศาสนาและวัฒธรรม
10 นาง ชนนิกานต์   ทองคำ ภาษาต่างประเทศ
11 นาย สุรศักดิ์   ถนอมพจน์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒธรรม
12 นาง ปิยาภา   จรโคกกรวด ภาษาต่างประเทศ

เอกสารอ้างอิง

http://namprigaoing.blogspot.com/2012/08/blog-post_26.html

 

บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน

 

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงานตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
                3.1.1  เครื่องคอมพิวเตอร์ (Asus K450cc-wx259D Third Generation Core i5-3337U (1.8GHz) Turbo boost up to 2.7 GHz  Ram 4.0 GB DDR3  HDD 500 GB SATA  DVDRW  )

3.1.2  โปรแกรม DeskTop  Author

3.1.3  โปรแกรม Power Point

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
                3.2.1  คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.2  ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3.2.3  ศึกษาการพัฒนาโครงงาน เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ ที่สร้าง จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับจัดทำโครงงาน
3.2.4  จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา

3.2.5  ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ โดยการปฏิบัติงานตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว

3.2.6 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม DeskTop  Author  ในการสร้าง

3.2.7 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอที่ห้องคอมพิวเตอร์ อาคารกระดังงา โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน
3.2.8 นำเสนอผ่านเว็บไซต์ https://sarinee235.wordpress.com เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

 

บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน

 

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องน้ำพริกภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโครงงาน เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารของชาวล้านนา และเพื่อศึกษาขั้นตอนการทำน้ำพริกภาคเหนือ น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกจิ๊นหมู ผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ https://sarinee235.wordpress.com ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล

4.1 ผลการโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องน้ำพริกภาคเหนือ การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องน้ำพริกภาคเหนือ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://sarinee235.wordpress.com โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

 

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

 

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องน้ำพริกภาคเหนือ สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1  การดำเนินงานจัดทำโครงงาน

5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

5.1.1.1 เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ

5.1.1.2 เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารของชาวล้านนา

5.1.1.3 เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำน้ำพริกน้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกจิ๊นหมู

 

5.2.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
        5.2.2.1  เครื่องคอมพิวเตอร์ (Asus K450cc-wx259D Third Generation Core i5-3337U (1.8GHz) Turbo boost up to 2.7 GHz  Ram 4.0 GB DDR3  HDD 500 GB SATA  DVDRW )

5.2.2.2  โปรแกรม DeskTop  Author

5.2.2.3  โปรแกรม Power Point

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องน้ำพริกภาคเหนือนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://sarinee235.wordpress.com ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

5.3 ข้อเสนอแนะ

5.3.1  ข้อเสนอแนะทั่วไป

5.3.1.1 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ wordpress เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว  แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง  เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่แต่สิ่งที่ดีๆให้บุคคลที่เข้ามาศึกษาได้ความรู้และสิ่งที่ดีๆ  นำไปเผยแพร่ต่อเพื่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป

5.3.1.2 ควรมีการจัดทำเนื้อหาโครงงานให้หลากหลายครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

5.3.1.3 ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม

                5.3.2  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

5.3.2.1 การใช้โปรแกรมในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ยังไม่คล้องในการ

 

 

บรรณานุกรม

zeepearsukon. 2554โครงงานน้ำพริกภาคเหนือ : http://paiinkmint.blogspot.com/

เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558.

Hawa.2554.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา:http://www.noohawa.com.blogspot.com/2011/09/

educational-media-development.html เข้าถึงเมื่อวันที่  16 พฤศจิกายน 2558.

Nattida23362.2556.ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์:http://thaigoodview.com/node/83814

เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558.

ธวัฒชัย ใบโสด.2554.การใช้งาน DesTop Author:http://wabhtml.horhook.com/wbi/dta/intro.html

เข้าถึงเมื่อวันที่  16 พฤศจิกายน 2558.

zai_sai. 2556.  ประวัติความเป็นมาของน้ำพริกภาคเหนือ: http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/classify_food_by_type.php?ID=7

เข้าถึงเมื่อวันที่  17 พฤศจิกายน 2558.

EzyThaiCooking. 2558.  สูตรน้ำพริกภาคเหนือ : http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/classify_food_by_type.php?ID=7

เข้าถึงเมื่อวันที่  17 พฤศจิกายน 2558.

รัตติยา กงจักร.2555.การใช้ Microsoft Office PowerPoint 2007 เบื้องต้น:http://acl-2rattiya-

kongjak.blogspot.com/2012/02/powerpoint.html เข้าถึงเมื่อวันที่  18 พฤศจิกายน 2558.

ข้อมูลผู้จัดทำ

นางสาวสาริณี พึ่งพรม เกิดเมื่อวันที่ 5 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540  ที่สุรินทร์ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านอาคตหนองขอนประชาวิทย์ ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ

รายงานเชิงวิชาการเรื่องวันออกพรรษา (ขนมเทียน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เพื่อศึกษาประวัติและเรื่องราวความเป็นมาของวันออกพรรษาเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาหาข้อเท็จจริง  เพื่อต้องการนำข้อมูลที่ได้ศึกษามานำเสนอได้อย่างถูกต้อง เพื่อต้องการนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาสรุปและเขียนเป็นรายงาน

ผลการศึกษาผลการศึกษาพบว่าวันออกพรรษา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกวันที่สินการจำนำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ว่าวันออกพรรษา , วันปวารณา หรือวันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งเป็นวันสิ้นสุดการจำนำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่งอธิษฐานเข้าตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม คืออนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้

ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตังแต่พระเถระ ได้แก่พระภิกษุผู้ที่มีอาวุโสลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องทำด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตักเตือนทังกาย วาจา และใจ ส่วนผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ตูองมีใจกว้างมอง เห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ถ้าเป็นจริงตามคำกล่าวก็ปรับปรุงตัวใหม่ หากไม่จริง ก็สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้กระจ่าง ทังสองฝ่ายต้องคิดว่าทักทวงเพื่อก่อ ฟังเพื่อแก้ไข จึงจะได้ประโยชน์ และตรงกับความม่งหมายการปวารณา ที่สร้างความสมัครสมานสามัคคี และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์

สำหรับพุทธศาสนิกชน ก็สามารถนำหลักการปวารณาในวันออกพรรษามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ทั้งในครอบครัว สถานศึกษาหรือในสถานที่ทำงาน โดยยึดความเมตตาต่อกัน มองเห็นความหวังดี เข้าใจซึงกันและกันได้เช่นนี้ยอมทำให้สังคมเกิดความสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาและพร้อมจะพัฒนาไปด้วยกันทุกฝ่าย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑จัดกิจกรรมวันออกพรรษา

Xperia™ Z3 Compact – ความเหนือชั้นในสมาร์ทโฟนขนาดกะทัดรัด

xperia-z3-dive-into-new-experiences-5341718fbf126752c18cc00030c56046-940

 

คุณสมบัติ

  • ความละเอียดกล้อง 20.7 ล้านพิกเซลสำหรับภาพและวิดีโอคุณภาพสูง
  • มีคุณสมบัติกันฝุ่นและกันน้ำได้ ตามการรับรองมาตรฐานการป้องกัน IP65 และ IP68 เมื่อปิดพอร์ตและฝาครอบทั้งหมดให้สนิท นานถึง 30 นาที ที่ระดับความลึก 1.5 เมตร
  • แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ถึง 2 วัน
  • ฟีเจอร์ “Smart Social Camera” platform with unique camera apps จากโซนี่

gal_acer-cloudmobile-S500_1360847648

 ข้อมูลสเปคของตัวเครื่อง

ขนาดของตัวเครื่อง
127 x 65.8 x 9.9 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 122.00 กรัม
หน้าจอและความละเอียด จอแสดงผลกว้าง 4.3 นิ้ว แบบ IPS LCD Capacitive Touchscreen 16.7 ล้านสี ความละเอียด 1280×720 พิกเซล (342 ppi)
หน่วยประมวลผล (CPU) Dual-Core Krait Processor (ชิปเซ็ต Qualcomm MSM8260A Snapdragon) ความเร็ว 1.5GHz
ชิพประมวลผลกราฟฟิค (GPU) Adreno 225 GPU
หน่วยความจำ (RAM) 1 GB
หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM) ไม่ระบุ
ระบบปฏิบัติการ (OS) Android 4.0.4 (Ice Cream Sandwich)
หน่วยความจำภายใน 8 GB
หน่วยความจำภายนอก รองรับสูงสุด 32 GB
แบตเตอรี่ Li-Ion 1460 mAh
ระบบ เซ็นเซอร์ ตรวจจับ 3-Axis Gyro Sensor, Accelerometer Sensor และ Proximity Sensor

  ระบบเครือข่าย และ การเชื่อมต่อ

โทรศัพท์
รองรับ
รองรับ 3G รองรับ
รองรับ GPRS/EDGE รองรับ
ข้อมูลเครือข่ายที่รองรับ ระบบสัญญาณ Dual Mode (WCDMA/GSM)
– WCDMA/HSDPA Tri Band (900/1900/2100 MHz)
– GSM Quad Band (850/900/1800/1900 MHz)
การเชื่อมต่อ Wi-Fi รองรับ (Wi-Fi 802.11 b/g/n)
รองรับ Bluetooth Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 + A2DP
ระบบ GPS นำทาง ระบบ GPS ในตัว พร้อมฟังก์ชัน A-GPS

  ระบบเสียง มัลติมีเดีย และ พอร์ทต่างๆ

ลำโพง (Speaker)
มีในตัว
ไมโครโฟน มีในตัว
กล้องด้านหน้า รองรับ
กล้องด้านหลัง ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อม LED Flash และระบบ Auto-focus
ช่องต่อหูฟัง รองรับ ชุดหูฟัง ขนาด 3.5 มิลลิเมตร
พอร์ทเชื่อมต่อ HDMI ไม่ระบุ
พอร์ทเชื่อมต่อ USB USB Data Cable เวอร์ชั่น 2.0

  คุณสมบัติเด่นของตัวเครื่อง และการรองรับไฟล์ต่างๆ

User Interface
Acer UI
ไฟล์แฟลช (Flash Player) รองรับ
ระบบ Multitasking รองรับการทำงานแบบ Multitasking
ระบบ Multitouch รองรับการทำงานแบบ Multitouch
ระบบช่วยสะกดคำอัตโนมัติ รองรับ
เว็บ Browser HTML Browser
การดาวน์โหลด Application Google Play Store
โปรแกรม Messenger Google Talk และ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเพิ่มเติมได้
ปุ่มกด แป้นควบคุมการทำงานแบบสัมผัส (Touch-Sensitive Panel)
คีย์บอร์ด Virtual QWERTY Keyboard
ไฟล์เสียงที่รองรับ
รองรับไฟล์เพลงประเภท MP3, AAC, AAC+, eAAC+, WAV, WMA
ไฟล์วีดีโอที่รองรับ รองรับไฟล์วิดีโอประเภท MPEG4, H.263, H.264
ไฟล์เอกสารที่รองรับ รองรับโปรแกรมเปิดอ่านไฟล์เอกสาร

  คุณสมบัติอื่นๆ ของตัวเครื่อง

โปรแกรมเสริมอื่นๆ ไม่ระบุ
ข้อมูลเกี่ยวกับ SMS สามารถรับ-ส่งข้อความแบบ SMS และ MMS ได้
ข้อมูลเกี่ยวกับ Email – รองรับการใช้งานระบบ Push Email
– รองรับการใช้งานบริการระบบอีเมลของ Gmail
ข้อมูลอื่นๆ – รองรับ microSIM card
– เปิดตัวครั้งแรก เมื่อ เดือน กันยายน ปี 2012

Samsung Galaxy Grand Prime

galaxy-grand-1

รายละเอียด Samsung Galaxy Grand Prime

Smartphone ขนาดใหญ่หน้าจอ 5 นิ้ว ที่รองรับการเชื่อมต่อบนเครือข่ายความเร็วสูง 4G LTE

มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียดสูงถึง 5 ล้านพิกเซลที่ออกมาเอาใจขาเซลฟีตัวจริงอย่างคุณ

และยังรองรับการทำงานหลากหลายประเภทในเวลาเดียวกันด้วย CPU ประมวลผลแบบ Quad Core

ความเร็ว 1.2 GHz ที่ถูกบรรจุอยู่ในตัวเครื่องขนาดเพรียวบางเพียง 8.6 mm. ให้คุณสามารถ

พกพาโทรศัพท์ไปได้ทุกที่ตามที่คุณต้องการ

กล้องหน้ามุมกว้าง

นอกเหนือจากความละเอียด 5 ล้านพิกเซลของกล้องหน้าที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว Galaxy Grand Prime

ยังมาพร้อมเลนส์มุมกว้างขนาด 85 องศา ให้คุณเก็บภาพบรรยากาศรอบข้างหรือภาพกลุ่มเพื่อน

ได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น (กล้องหน้ารุ่นอื่นมักจะมีมุมรับภาพกว้างเพียง 70 องศา)

เพรียวบางแต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ

ความสามารถทั้งหมดของตัวเครื่องถูกบรรจุไว้ภายใต้ความบางของตัวเครื่องเพียง 8.6 mm.

เพื่อความสะดวกในการพกพาและใช้งาน

ตอบสนองทุกการใช้งาน

ด้วยระบบประมวลผลแบบ Quad-Core ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานหลากหลายประเภท

ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ Samsung Galaxy Grand Prime พร้อมรับมือกับการทำงานทุกรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นการรับชมวีดีโอความละเอียดสูง หรือเล่นเกมที่ต้องใช้การประมวลผลสูง

 

 

Samsung Galaxy A5

Galaxy-A5-Price

การออกแบบ Samsung Galaxy A5

มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 5 นิ้ว หน้าจอแบบ Super AMOLED ตามคาด ความละเอียดหน้าจอ 720 x 1280 pixels มาพร้อมการออกแบบที่บางเบา โดย Galaxy A5 นี้มาพร้อมกับความบางเพียง 6.7 มม. ตัวเครื่องทำมาจากอะลูมิเนียม มีให้เลือก 6 สีด้วยกัน ได้แก่ สีดำ (Midnight Black), สีขาว (Pearl White), สีเงิน (Platinum Silver), สีฟ้า (Light Blue), สีชมพู(Soft Pink) และสีทองแชมเปญ (Champagne Gold) ด้วยล่ะจ้า

 

กล้อง Samsung Galaxy A5

Samsung Galaxy A5 ขนกล้องสุดแจ่มให้เหล่าแฟนๆได้เชยชมกัน โดยกล้องหลังจัดมาที่ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช LED อีกทั้งฟีเจอร์เด็ดๆอีกมากมาย เช่น ออโต้โฟกัส เป็นต้น กล้องหน้าจัดมาเบาๆที่ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล เรียกได้ว่าเอาใจคนรักเซลฟี่แบบสุดๆ โดยสามารถโฟกัสใบหน้า แถมกล้องหน้ายังมีเลนส์กว้างที่จะสามารถถ่ายเซลฟี่ได้แบบไม่มีใครตกขอบ แถมยังใช้สำหรับวีดีโอคอลได้สบายๆ และยังถ่ายวีดีโอได้ชัดแจ้งแจ่มแจ๋วที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซลคมชัดแบบ HD เลยทีเดียว

 

ราคา Samsung Galaxy A5 เปิดตัว

เปิดตัวในไทยกันแล้วนะคะสำหรับ Samsung Galaxy A5 เป็นรุ่นแรกใน 3 ทหารเสือตระกูล A Series จากซัมซุง ที่ประกอบด้วย ประกอบไปด้วย Galaxy A3, Galaxy A5 และ Galaxy A7 ประกาศราคาในไทยอย่างเป็นทางการแล้วนะคะสำหรับ Samsung Galaxy A5 นั่นก็คือราคา 12,900 บาท เรียกได้ว่าถูกกว่าราคาที่แอดมินเคยคาดไว้ (แอดมินเคยคาดไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 14,000 บาท) เรียกได้ว่าราคานี้อาจถูกใจเหล่าสาวกหลายๆคน ในส่วนของกำหนกการวางจำหน่ายในไทยนั้น ทางซัมซุงคอนเฟิร์มแล้วว่า มาเดือนมกราคม 2558 นี้แน่นอนจ้า โดยมี 3 สีให้เลือกได้แก่ สีดำ (Midnight Black), สีขาว (Pearl White) และสีทองแชมเปญ (Champagne Gold)

มือถือ OPPO R5

oppoR5

 

 

จอแสดงผลแบบ AMOLED Capacitive Touchscreen 16,700,000 สี ความละเอียด 1920×1080 Pixels (Full HD 1080p : กว้าง 5.2 นิ้ว : 423 ppi) พร้อมหน่วยประมวลผลภาพกราฟฟิคโดยเฉพาะ (GPU : Graphics Processing Unit) แบบ Adreno 405

ประมวลผลการทำงานด้วย Octa-Core ARMv8 Cortex-A53 Processor (ชิปเซ็ต 64-bit Qualcomm MSM8939 Snapdragon 615) ความเร็วในการประมวลผล 1.5 GHz พร้อมระบบปฏิบัติการ Color OS เวอร์ชัน 2.0 (Android 4.4.2 KitKat)

เทคโนโลยีการผลิตตัวเครื่องแบบ 3D-Welded Aluminum Alloy ความบางเฉียบเพียง 4.85 มิลลิเมตร

เชื่อมต่อ HTML Browser ผ่านระบบ WiFi, LTE, HSPA, EDGE หรือ GPRS พร้อมการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้สายผ่าน Bluetooth

กล้องดิจิตอลตัวหลักที่ด้านหลังของตัวเครื่อง ความละเอียดระดับ 13 ล้าน Pixels พร้อมกล้องดิจิตอลขนาดเล็กที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ความละเอียดระดับ 5 ล้าน Pixels
  • ระบบสัญญาณ Tri Mode (LTE/WCDMA/GSM)
    – LTE (FDD-LTE Band 1/3/7 และ TD-LTE Band 40)
    – WCDMA/HSDPA Quad Band (850/900/1900/2100 MHz)
    – GSM Quad Band (850/900/1800/1900 MHz)
    – ใช้งานร่วมกับซิมการ์ดแบบ microSIM เท่านั้น
  • ขนาด 148.9×74.5×4.85 มิลลิเมตร
  • น้ำหนัก 155 กรัม
  • ชนิดจอแสดงผลแบบ AMOLED Capacitive Touchscreen 16,700,000 สี ความละเอียด 1920×1080 Pixels (Full HD 1080p : กว้าง 5.2 นิ้ว : 423 ppi)
    – หน่วยประมวลผลภาพกราฟฟิคโดยเฉพาะ (GPU : Graphics Processing Unit) แบบ Adreno 405
    – กระจกหน้าจอแบบ Corning Gorilla Glass 3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันแรงกระแทก หรือรอยขีดข่วน
    – มุมมองกว้าง 180 องศา
    – ระบบสัมผัสแบบหลายจุด (Multi-Touch : สูงสุด 5 จุดพร้อมกัน)
    – ระบบ Accelerometer Sensor ช่วยหมุนหรือปรับเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลของหน้าจอให้แบบอัตโนมัติ ตามลักษณะการจับถือของผู้ใช้
    – ระบบ Proximity Sensor สำหรับการปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน
  • ชนิดแบตเตอรี่ Li-Ion Polymer 2000 mAh
    – เทคโนโลยี VOOC mini Rapid Charger สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ความเร็วสูง (0-75% ภายในเวลา 30 นาที)
  • ระยะเวลารอรับสายสูงสุด ประมาณ – ชั่วโมง
  • ระยะเวลาสนทนาสูงสุด ประมาณ – ชั่วโมง
  • ประมวลผลการทำงานด้วย Octa-Core ARMv8 Cortex-A53 Processor (ชิปเซ็ต Qualcomm MSM8939 Snapdragon 615) ความเร็วในการประมวลผล 1.5 GHz
    – สถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบ 64-bit
  • ขับเคลื่อนการทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Color OS เวอร์ชัน 2.0 (มีพื้นฐานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android 4.4.2 KitKat)
  • หน่วยความจำภายในสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลขนาด 16 GB
  • หน่วยความจำ RAM ขนาด 2 GB
  • หน่วยความจำสมุดโทรศัพท์
  • บันทึกข้อมูลการโทร (โทรออก, รับสาย, ไม่รับสาย)
  • SMS (Short Messaging Service)
  • MMS (Multimedia Messaging Service)
  • Email
    – รองรับการใช้งานระบบ Push Email
    – รองรับการใช้งานบริการระบบอีเมลของ Gmail
  • Instant Messaging (Google Hangouts)
  • SNS (Social Network Service)
    – รองรับการใช้งาน Google+, Facebook, Twitter
  • ระบบสะกดคำอัตโนมัติ
  • HTML Browser
    – รองรับมาตรฐาน HTML5
  • WiFi (WLAN : Wireless LAN : 802.11 a/b/g/n)
    – รองรับความถี่ WiFi แบบ Dual Band (2.4 และ 5 GHz)
    – เทคโนโลยี WiFi Direct รองรับการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยเครือข่าย หรือตัวกระจายสัญญาณ WiFi
    – ฟังก์ชัน WiFi hotspot สำหรับการแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านทางสัญญาณ WiFi
  • LTE
  • HSDPA : HSUPA
  • EDGE
  • GPRS
  • Bluetooth เวอร์ชัน 4.0
    – รองรับการเชื่อมต่อใช้งานกับหูฟัง Bluetooth แบบ Stereo (A2DP)
  • USB Data Cable (microUSB : USB เวอร์ชัน 2.0)
    – รองรับเทคโนโลยี USB OTG (USB On-the-Go) ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นทางผ่าน
  • ระบบ GPS ในตัว (Global Positioning System : ระบบดาวเทียมนำร่อง)
    – ฟังก์ชัน A-GPS ในตัว (Assisted Global Positioning System)
    – รองรับการใช้งานกับระบบดาวเทียมของรัสเซีย (GLONASS : Global Navigation Satellite System)
    – ระบบเข็มทิศดิจิตอล (Digital Compass)
    – ค้นหาข้อมูลแผนที่ผ่านทางโปรแกรม Google Maps
  • ค้นหาและดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านทาง Google Play Store
  • ค้นหาและเปิดดูคลิปวีดีโอบน YouTube
  • ค้นหาข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น Google Search และฟังก์ชัน Google Now
  • เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic Ringtones
    – รองรับไฟล์เสียงเรียกเข้าแบบ MP3, WAV
    – แสดงรูปภาพขณะมีสายเรียกเข้า (Photo Caller ID)
    – ระบบสั่นในตัว
  • นาฬิกาบอกเวลา
  • นาฬิกาแสดงเวลาทั่วโลก
  • ตั้งปลุก
  • โปรแกรม Organizer
  • ปฏิทินพร้อมบันทึกนัดหมาย
  • เครื่องคิดเลข
  • โปรแกรมเล่นไฟล์เพลง FLAC, OGG, MP3, AAC, AAC+, eAAC+, WAV, WMA, MIDI
    – รองรับการใช้งานร่วมกับ O-Music Bluetooth Clip
  • โปรแกรมเล่นไฟล์วีดีโอ DivX, XviD, MKV, MPEG4, AVI, H.263, H.264, WMV
  • ลำโพงเสียงในตัว (Loudspeaker)
  • โปรแกรมเปิดอ่านไฟล์เอกสาร
  • ไมโครโฟนแยกเฉพาะสำหรับการสนทนา พร้อมระบบตัดเสียงรบกวนจากภายนอก
  • สั่งงานด้วยเสียง
  • โทรออกด้วยเสียง
  • บันทึกเสียง
  • Handsfree และ Speakerphone ในตัว
  • เทคโนโลยีการผลิตตัวเครื่องแบบ 3D-Welded Aluminum Alloy
  • กล้องดิจิตอลตัวหลักที่ด้านหลังของตัวเครื่อง ความละเอียดระดับ 13 ล้าน Pixels
    – ความละเอียดสูงสุดของภาพถ่าย 4128×3096 Pixels
    – เซ็นเซอร์รับภาพ Sony Exmor IMX214 BSI
    – ขนาดของรูรับแสง (Aperture) กว้างสูงสุดที่ F/2.0
    – ไฟแฟลชในตัว (LED Flash)
    – เทคโนโลยี Pure Image Engine เวอร์ชัน 2.0
    – ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ (Auto Focus)
    – ระบบเลือกจุดโฟกัสภาพด้วยการสัมผัส (Touch Focus)
    – เทคโนโลยีการติดตาม และโฟกัสวัตถุที่เคลื่อนไหว (Tracking Focus)
    – ฟังก์ชัน Face Detection ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการโฟกัสไปที่ใบหน้าของผู้ถูกถ่าย
    – โหมดถ่ายภาพแบบ HDR (High Dynamic Range)
    – โหมดถ่ายภาพในแนวกว้าง (Panorama Mode)
    – โหมดถ่ายภาพแบบ Normal, Ultra-HD, Colorful Night, Slow Shutter, Expert Mode, Beautify, Audio Photo, GIF, Double Exposure, Raw, Super Macro, After Focus
    – ฟังก์ชัน Geotagging รองรับการแนบข้อมูลพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกไปกับรูปถ่าย
    – โปรแกรมตกแต่งแก้ไขรูปภาพ
    – ถ่ายภาพวีดีโอ (4K UHD : 2160p : 3840×2160 Pixels : 30 fps)
    – ถ่ายภาพวีดีโอ (Full HD : 1080p : 1920×1080 Pixels : 60 fps)
    – ถ่ายภาพวีดีโอ (HD 720p : 1280×720 Pixels : Slow Motion : 120 fps)
    – โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ
  • กล้องดิจิตอลขนาดเล็กที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง ความละเอียดระดับ 5 ล้าน Pixels (2592×1944 Pixels)
    – เลนส์มุมกว้าง 83 องศา
    – รองรับการใช้งานฟังก์ชัน Video Calling (สนทนาพร้อมภาพวีดีโอ)
  • รองรับ Java Applications (ใช้งานผ่านทาง Java MIDP Emulator)
  • มี 2 สีมาตรฐานให้เลือก (เงิน และ ทอง)
  • เปิดตัวครั้งแรก เมื่อ เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2014
  • กำหนดการออกวางจำหน่าย เดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2014
  • ราคาเปิดตัว 16,990 บาท

 

 

 

Microsoft Lumia 535 Dual SIM (ไมโครซอฟท์ Lumia 535 Dual SIM)

spec_1417604766tmb_spec_535

ข้อมูลสเปคของตัวเครื่อง

ขนาดของตัวเครื่อง
140.2 x 72.4 x 8.8 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 146.00 กรัม
หน้าจอและความละเอียด จอแสดงผลกว้าง 5.0 นิ้ว แบบ IPS LCD Capacitive Touchscreen 16.7 ล้านสี ความละเอียด 960 x 540 พิกเซล (220 ppi)
หน่วยประมวลผล (CPU) Quad-Core Cortex-A7 Processor (Qualcomm Snapdragon 200 chipset) ความเร็ว 1.2 GHz
ชิพประมวลผลกราฟฟิค (GPU) Adreno 302 GPU
หน่วยความจำ (RAM) 1 GB
หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM) 8 GB
ระบบปฏิบัติการ (OS) Windows Phone 8.1 กับ Lumia Denim
หน่วยความจำภายใน 8 GB
หน่วยความจำภายนอก รองรับสูงสุด 128 GB
แบตเตอรี่ Li-Ion 1905 mAh (BL-L4A)
ระบบ เซ็นเซอร์ ตรวจจับ Accelerometer Sensor, Proximity Sensor และ Ambient Light Sensor

 

  ระบบเครือข่าย และ การเชื่อมต่อ

โทรศัพท์
รองรับ
รองรับ 3G รองรับ
รองรับ GPRS/EDGE รองรับ
ข้อมูลเครือข่ายที่รองรับ ระบบสัญญาณ Dual Mode (WCDMA/GSM)
– WCDMA/HSDPA Dual Band (900/2100 MHz)
– GSM Quad Band (850/900/1800/1900 MHz)
การเชื่อมต่อ Wi-Fi รองรับ (Wi-Fi 802.11 b/g/n)
รองรับ Bluetooth Bluetooth เวอร์ชัน 4.0
ระบบ GPS นำทาง ระบบ GPS ในตัว พร้อมฟังก์ชัน A-GPS และ GLONASS ระบบดาวเทียมของรัสเซีย

 

  ระบบเสียง มัลติมีเดีย และ พอร์ทต่างๆ

ลำโพง (Speaker)
มีในตัว
ไมโครโฟน มีในตัว
กล้องด้านหน้า – ความละเอียดระดับ 5 ล้านพิกเซล
– เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle)
– ทางยาวโฟกัส 24 มิลลิเมตร
– รูรับแสงกว้างสูงสุดที่ F/2.4
กล้องด้านหลัง – ความละเอียดระดับ 5 ล้านพิกเซล
– เซ็นเซอร์รับภาพขนาด 1/4 นิ้ว
– ทางยาวโฟกัส 28 มิลลิเมตร
– รูรับแสงกว้างสูงสุดที่ F/2.4
– ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ (Auto Focus)
– ไฟแฟลช LED
ช่องต่อหูฟัง รองรับ ชุดหูฟัง ขนาด 3.5 มิลลิเมตร
พอร์ทเชื่อมต่อ HDMI ไม่ระบุ
พอร์ทเชื่อมต่อ USB USB Data Cable เวอร์ชัน 2.0